“Bizcuit Solution” ส่ง AI ถอดรหัสกระแสเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. โชว์ศักยภาพโซเชียลอนาไลติกส์ พร้อมยกระดับความอัจฉริยะด้านภาษา
BIZCUIT หนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยี AI โซลูชั่น จับกระแสคนไทยตื่นตัวเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในรอบ 9 ปี[1] จนเกิดปริมาณข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นจำนวนมหาศาลกว่า 4 ล้านคำ ชี้คือขุมทรัพย์ทางปัญญาของเทคโนโลยี AI เดินหน้าส่งระบบช่วยยกระดับความชาญฉลาดของเทคโนโลยี AI ด้าน Machine Learning ลุยสร้างเทรนนิ่งดาต้าจากข้อมูลสาธารณะ 100% บนแพลตฟอร์มออนไลน์ มุ่งยกระดับความอัจฉริยะด้านภาษาที่ซับซ้อนเข้าใจยากให้กับ AI โดยเฉพาะการวิเคราะห์เจตนาของ Text-PowerTM ระบบบริการวิเคราะห์ภาษาผ่าน API ด้วย AI Natural Language Understanding หรือ การเข้าใจภาษาแบบธรรมชาติที่มีความสามารถถึง 4 ภาษา พร้อมโชว์ศักยภาพ AI ที่ต่อยอดทำได้มากกว่าการนับคำหรือการวิเคราะห์ความรู้สึกเชิงลบหรือบวกที่นิยมทำแบบโซเชียลลิสซินนิ่ง (Social Listening) แบบเดิม ใช้เวลาเริ่มพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีเพียง 4 สัปดาห์ สร้างให้ AI Machine Learning เข้าใจบริบทการเลือกตั้งได้ พร้อมเผยพบข้อมูลคนไทยสนใจการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สูงขึ้นทุกแพลตฟอร์ม โดยวันที่ 28 เมษายนเป็นต้นมา
“BIZCUIT มุ่งมั่นที่จะให้หลายหน่วยงานสามารถใช้ประโยชน์ของ AI ในการเข้าใจภาษาธรรมชาติ ด้วยเทคโนโลยี Machine Learning หรือ NLU (Natural Language Understanding) เพื่อต่อยอดธุรกิจและหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบัน BIZCUIT มี AI ที่พร้อมเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ อยู่แล้ว 16 หมวด โดยเรื่องการเมืองการเลือกตั้งนั้นถือเป็นหมวดที่ 17 และหนึ่งในพันธกิจของ BIZCUIT ในฐานะที่เป็นบริษัทของคนไทย คือการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเข้าใจภาษาแบบธรรมชาติในเชิงลึกโดยเฉพาะภาษาไทย เพื่อให้ AI เข้าใจในความหลากหลายของมิติการใช้ภาษาและครอบคลุมมากที่สุด โดยทาง BIZCUIT เล็งเห็นมูลค่าของข้อมูลการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครบนโลกออนไลน์ในทุกแพลตฟอร์มในครั้งนี้ ว่าเป็นขุมทรัพย์ทางข้อมูลในรูปแบบตัวอักษรที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งในรอบหลายปี” สุทธิพันธุ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิสกิต โซลูชั่น จำกัด หรือ BIZCUIT เปิดเผย
โดยการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ได้เลือกวิเคระห์ข้อมูลบน Twitter จากข้อความทั้งสิ้น 37,356 ข้อความ ในช่วง วันที่ 21 มี.ค. – 7 พ.ค. 2565 และจากกระแสในการดีเบตในวันที่ 28 เมษายน ที่ได้มีการรวมเอาความคิดเห็นที่เกิดขึ้นจาก YouTube Channel 3 News รวมถึง Facebook นอกจากนั้นยังมีการอาศัยความคิดเห็นที่ได้จากเพจข่าวทั่วไป รวมทั้งสิ้น 89,176 ความคิดเห็น ซึ่ง AI NLU สามารถที่จะบอกได้ว่าผู้สมัครแต่ละท่านกำลังถูกพูดถึงในแง่มุมไหน ด้วยความรู้สึกอย่างไร และมีเจตนาอยากสนับสนุนผู้สมัครหรือไม่
จะเห็นได้ว่าการนำ AI มาใช้ในการเข้าใจภาษาไทย แม้จะเป็นภาษาบนโลกออนไลน์ที่มีรูปแบบไม่ตายตัวนั้นก็สามารถทำได้ โดย NLU ภาษาไทยของ BIZCUIT ใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ในการพัฒนาความสามารถให้มีระดับความแม่นยำโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 70-83% ตามแต่ประเภทของ AI และยังสามารถพัฒนาเพิ่มความแม่นยำได้อีก
“การศึกษาข้อมูลในครั้งนี้ BIZCUIT มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและต้องการแสดงศักยภาพเทคโนโลยี Machine Learning ของคนไทย ในด้านการเข้าใจภาษาธรรมชาติ ที่ปัจจุบันมีความสามารถช่วยให้มนุษย์เข้าใจถึงจำนวนและสัดส่วนของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ซึ่งเกิดขึ้นจริงแล้ว โดยสรุปจากการที่เราเห็นข้อมูลกระแสการสนับสนุนผู้สมัครแต่ละคน ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดตามช่วงเวลาต่าง ๆ แต่เพื่อเป็นการช่วยให้เราได้ผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่เราต้องการ ทุกคนที่มีสิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้ควรรวมพลังกันออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่อาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคมนี้อย่างพร้อมเพรียงกัน” นายสุทธิพันธุ์ กล่าวสรุป