AIS จับมือพันธมิตร 190 องค์กร เร่งภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมสู่การเป็น HUB of E-Waste

HUB of E-Waste เป้าหมายเพื่อโลกของ AIS และ 190 องค์กรพันมิตร ในการเดินหน้าจัดการขยะอิเล็คทรอนิคส์ครั้งแรกในประเทศไทย
Share

 

ร่วมประกาศปักหมุดศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ครั้งแรกในไทย ชวนคนไทยทิ้ง E-Waste อย่างถูกวิธี ในวัน International E-Waste Day

 

ในวาระสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกวันขยะอิเล็กทรอนิกส์สากล หรือ International E-Waste Day 14 ตุลาคมปีนี้  AIS เดินหน้าภารกิจคนไทยไร้ e-waste ตอกย้ำการเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายแรกที่ลุกขึ้นมาให้ความสำคัญกับปัญหาด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีเป้าหมายในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีแบบปราศจากการฝังกลบหรือ Zero e-waste to landfill

 

เดินหน้าสู่ HUB of E-Waste ครั้งแรกในประเทศไทย

เดินหน้ายกระดับการทำงานสู่การเป็น ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ครั้งแรกของไทยที่ภาครัฐและเอกชนกว่า 190 องค์กรมาร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน มุ่งสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการนำขยะ E-Waste เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “ภายใต้เป้าหมายที่ 13 ของการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ว่าด้วยปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของ AIS ด้านสิ่งแวดล้อม ในการส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ผ่านโครงการคนไทยไร้ e-waste ที่เราเริ่มต้นมาตั้งปีแต่ปี 2019 ผ่านการทำงานกับพันธมิตรทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่มุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้วันนี้เราเป็นองค์กรแรกในไทยที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกใน International E-Waste Day ของ WEEE Forum (Waste Electrical and Electronic Equipment) ซึ่งเป็นสมาคมระดับนานาชาติที่รวบรวมข้อมูลด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์และมีสมาชิกจากหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งบนเว็บไซต์หลักของ WEEE Forum ก็มีกิจกรรมและการทำงานของ AIS จากประเทศไทย รวมถึงจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลก”

นางสายชล อธิบายต่อไปอีกว่า “และเราขอใช้วาระพิเศษที่โลกให้ความสำคัญกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์เนื่องในวัน International E-Waste Day ปีนี้ ประกาศว่า AIS พร้อมเป็นศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของไทย ที่วันนี้มีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 190 องค์กร มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายด้านต่างๆ อาทิ ด้านองค์ความรู้ ด้านเครือข่ายที่มาช่วยกันแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ ด้านจุดรับทิ้ง ด้านการขนส่ง หรือแม้แต่ด้านรีไซเคิล  เพื่อขับเคลื่อนการทำงานในการสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนคนไทยเห็นถึงผลกระทบของขยะอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถมีช่องทางในการทิ้งที่จะนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีแบบไม่หลงเหลือเศษซากและปราศจากการฝังกลบแบบ Zero e-waste to landfill”

การเป็นลงมือของ AIS แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน โดยมีภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อเร่งขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา

  • HUB of Knowledge ศูนย์กลางความรู้ที่รวบรวมข้อมูล บทความ งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม และขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการอัพเดทข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมควบคุมมลพิษ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
  • HUB of Community ศูนย์กลางเครือข่าย Green Community สร้างชุมชนให้เกิดความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ E-waste และการระดม แลกเปลี่ยนไอเดียในการแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อาทิ กลุ่มกรีนพหลโยธิน , องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) , ARI Innovation District เป็นต้น
  • HUB of Drop Points ศูนย์กลางความร่วมมือในการขยายจุดรับทิ้งขยะอิเล็คทรอนิคส์ ร่วมกันมากกว่า 2,500 จุดทั่วประเทศ
  • HUB of Transportation ศูนย์กลางระบบจัดการ E-Waste ที่ทำงานร่วมกับไปรษณีย์ไทย ในการรับขยะ E-Waste รวมถึงการติดตามสถานะขยะ E-Waste ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ผ่านแอป E-Waste+ ที่สามารถตรวจสอบและติดตามได้ว่าขยะ E-Waste ทุกชิ้นจะถูกนำส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลในโรงงานที่ได้รับมาตรฐาน
  • HUB of Circular ศูนย์กลางการจัดการและรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับบริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์สยาม จำกัด (WMS) โดยมีเป้าหมายหลัก บริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีโดยปราศจากการฝังกลบ หรือ Zero e-waste to landfill

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/th/home

เกี่ยวกับ AIS

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ผู้ให้บริการดิจิทัลบนโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการมากที่สุดรวม 1460 MHz (นับรวมคลื่นความถี่ที่ร่วมมือกับพันธมิตรรวมถึง NT ซึ่งอยู่ระหว่างการอนุมัติจาก กสทช.) และมีจำนวนผู้ใช้งานล่าสุดกว่า 45.3 ล้านเลขหมาย (ณ มิถุนายน 2566) พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี 5G ผ่าน 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่, อินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ AIS Fibre, ธุรกิจลูกค้าองค์กร และบริการดิจิทัล 5 ด้าน ได้แก่ วิดีโอ คลาวด์ ดิจิทัลเพย์เมนท์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และบริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ตลอดจนขยายสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ ทั้งหมดนี้เพื่อเดินหน้าตามวิสัยทัศน์การเป็นองค์กรโทรคมนาคมเทคโนโลยีอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co ที่พร้อมนำศักยภาพเข้าสนับสนุนความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศขยายขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม และยกระดับ คุณภาพชีวิตของคนไทยไปพร้อมกัน พบกับเราได้ที่ www.ais.th

 

ถ้าคุณสนใจและติดตามข่าวสารทางด้าน สิ่งแวดล้่อม และ ความยั่งยืน สามารถติดตามข่าวและบทความอื่นเพิ่มเติมได้ ที่นี่

Related Articles