e-Fuels “จอกศักดิ์สิทธิ์” ในความเป็นอมตะของเครื่องยนต์ ICE

e-Fuels อาจเป็นคำตอบสุดท้ายของการมีอยู่ของเครื่องยนต์สันดาปในอนาคตอันใกล้ จนบางคนพูดว่ามันอาจจะเป็น จอกศักดิ์สิทธิ์ ของรถใช้น้ำมัน
Share

 

ในยุคที่มีแต่คำพูดว่า เครื่องยนต์สันดาป ในใกล้ถึงยุคอวสานแล้ว แต่ดูเหมือนมีความพยายามมากมายในการ ยื้อ ให้การจากไปนี้ยาวนานที่สุด และหากการวิจัยนี้สำเร็จคงมีอีกหลายชีวิตที่ยังคงมีงานทำต่ออีกหลายแสนคน

 

แม้จะมีการบันทึกไว้ว่า ชาวจีน คือชนชาติแรกที่ขุดพบน้ำมันดิบเมื่อ 600 ปีก่อนคริสตกาล หรือชาวบาบิโลเนียนเป็นชนเผ่าแรกที่มีการนำน้ำมันดิบมาเป็นเชื้อเพลิงจุดไฟ เมื่อครั้ง 2500 ปีก่อนคริสตกาล แต่อย่างไรก็ตามกับการนำมาใช้งานจริงนั้นกลับเกิดเมื่อ Samuel M. Kier ค้นพบน้ำมันโดยบังเอิญ จากบ่อที่เขาขุดแถวฝั่งแม่น้ำอัลเลเกนี ในรัฐเพนซิลเวเนีย ของอเมริกา และได้ตั้งชื่อน้ำมันนี้ว่า น้ำมันซีนีกา (Seneca oil) ในปี คศ. 1848

e-Fuels Concept
Credit Picture : eFuel Alliance

เชื้อเพลิงฟอสซิล แหล่งผลิตมลพิษ

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ทุกคนบนโลกต่างรู้ว่า เชื้อเพลิงที่ได้มาจากฟอสซิล นั้นสร้างปัญหามลพิษอย่างมาก ส่งผลให้เกิดทั้งภาวะเรือนกระจก อันเป็นที่มาของปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้ง El Nino และ La Nina รวมไปถึงภาวะที่ PM 2.5 กักขังอยู่ในพื้นที่จนเกิดปัญหาทางการหายใจ

โดยสถิติแล้ว CO และ CO2 นั้นกว่า 75% นั้นถูกสร้างขึ้นมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งน้ำมันและถ่านหิน ซึ่งมาจากการใช้งานรูปแบบต่างๆ โดยมากแล้วนั้นคือการขนส่งและเดินทางของมนุษย์นั่นเอง ไม่ว่าจะ รถยนต์ การขนส่ง ทั้งทาง รถ เรือและเครื่องบิน โดยที่สิ่งเหล่านี้เริ่มเห็นชัดเจนและรุนแรงขึ้นมาตั้งแต่ยุคสมัยของการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นนั่นเอง

เมื่อทุกคนเห็นแล้วว่า มนุษย์โลก นั้นทำร้ายโลกใบนี้ขนาดไหน จึงเกิดความพยายามในการดูแลโลกครั้งใหญ่ขึ้นมาตั้งแต่องค์กรระดับโลกไล่มาจนถึงภาคประชาชนต่างๆ ก็เริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมในการกอบกู้สิ่งแวดล้อมทั่วโลก ภาคอุตสาหกรรมเองก็มองเห็นว่าที่ผ่านมาตัวเองนั้น เป็นตัวก่อนปัญหาสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหนบางบริษัทถึงกับยอมสละเงินเพื่อทำการวิจัยในการหานวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะมาช่วยทำให้โลกใบนี้สะอาดและยั่งยืนต่อไป

 

e- Fuels เชื้อเพลิงที่ไร้ CO2 หลังการเผาไหม้

สำหรับเชื้อเพลิงที่จะเรียกว่า เป็นกลางทางคาร์บอน นั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งก็คือการไม่ปล่อยหรือไม่ทำให้เกิด CO2 หลังการเผาไหม้ แถมยังมีกระบวนการผลิตเริ่มจากพลังงานหมุนเวียนและสุดท้ายคือสามารถใช้ทดแทนกับเชื้อเพลิงแบบฟอสซิลเดิมๆ  ซึ่งเป็นตัวการหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทีนี้จะว่าไป เราสามารถแยกเจ้าเชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางตาร์บอน ก็ได้หลายแบบอยู่

  1. กลุ่มเชื้อเพลิงแบบชีวภาพ : เป็นเชื้อเพลิงที่ทำจากอินทรียวัตถุ เช่น วัสดุจากพืช ของเสียจากการเกษตร และสาหร่าย ถามว่าเชื้อเพลิงแบบนี้ทำไมถึงมีความ เป็นกลางเพราะ CO2 ที่ปล่อยออกมาเมื่อถูกเผาไหม้จะเท่ากับปริมาณที่พืชดูดซับในระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสง
  2. Hydrogen : ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงอเนกประสงค์ที่สามารถผลิตได้จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น น้ำ ชีวมวล และพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อมันถูกเผาไหม้สิ่งที่ได้คือละอองน้ำซึ่งทำให้มันคือเชื้อเพลิงที่ปลอดจากคาร์บอนโดยสมบูรณ์
  3. เชื้อเพลิงสังเคราะห์ : เชื้อเพลิงสังเคราะห์เกิดจากการผนวกพลังงานหมุนเวียนเข้ากับกระบวนการดักและสะสม CO2 สามารถใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบดั้งเดิมและมีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก
  4. พลังงานไฟฟ้า : รถยนต์พลังงานไฟฟ้าอาศัยไฟฟ้าในการขับเคลื่อน โดยที่ได้มาจากทั้งการผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลมและพลังงานน้ำ แม้ว่าการผลิตไฟฟ้าเองอาจก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอน แต่การใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนหมายความว่ารอยเท้าคาร์บอนโดยรวมของรถยนต์ไฟฟ้าอาจต่ำกว่ารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบดั้งเดิมอย่างมาก

ในภาพรวมแล้ว เชื้อเพลิงและพลังงานที่อยู่ในกลุ่มเป็นกลางทางคาร์บอน ถือเป็นเป็นตัวเลือกและทางออกที่ดีในการแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกะจก แลละต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นความท้าทายที่ต้องก้าวผ่านให้ได้ เช่นเรื่องของต้นทุนที่สูงกว่าและที่สำคัญคือเชื้อเพลิงประเภทนั้นมีอยู่อย่างจำกัด

 

ขั้นตอนผลิต e-Fuels นั้นต้องมีอะไรบ้าง

คำถามสำคัญก็คือจะได้มาซึ่ง น้ำมันที่ปราศจากมลพิษนี้ นั้นจะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง หลักๆ แล้ว จะพบว่าต้องเจอสิ่งเหล่านี้

  1. สารประกอบไฮโดรคาร์บอน : ส่วนใหญ่แล้วเชื้อเพลิงแบบใหม่นี้จะประกอบไปด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอน โดยที่มีโมเลกุลประกอบไปด้วยอะตอมของไฮโดรเจนและคาร์บอน โดยที่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนนี้สามารถปรับให้ตรงตามข้อกำหนดเฉพาะสำหรับการใช้งานต่างๆ ได้หมากหลาย
  2. สารเติมแต่งเพิ่มประสิทธิภาพ : ในเชื้อเพลิงใหม่นี้อาจมีการเพิ่มสารเติมแต่งเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เช่น สารทำความสะอาดภายในเครื่องยนต์ หรือสารหล่อลื่นเพื่อลดการสึกหรอ
  3. มีการเติมสารที่มีออกซิเจน : บางครั้งในเชื้อเพลิงแบบที่เรากำลังอยากได้นั้นอาจมีการเติมสารที่มีอะตอมของออกซิเจนเพื่อช่วยในการจุดระเบิดหรือลดมลพิษหลังการจุดระเบิด เช่น ethanol หรือ methanol
  4. สิ่งแปลกปลอม : ในบางครั้งอาจมีสิ่งเจือปนเล็กน้อย เช่น สารประกอบกำมะถันหรือไนโตรเจน ซึ่งอาจส่งผลต่อสมรรถนะและการปล่อยมลพิษ

โดยรวมแล้ว รายละเอียดของ e-Fuels นั้นได้รับการออกแบบให้เลียนแบบคุณสมบัติทางเคมีของเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วไป ในขณะเดียวกันก็ลดคาร์บอนฟุตพรินต์และการปล่อยก๊าซ แต่ในเมื่อมันคือหนึ่งในเชื้อเพลิงคำถามก็คือมันยังคงต้องมีโมเลกุลของสารประกอบเชิงไฮโดรคาร์บอนอยู่ แล้วทีนี้เราจะสร้างมันด้วยกระบวนใด

 

ความรู้มา ส่วนประกอบครบ ต่อไปคืออยากผลิต e-Fuels แล้ว

อ่านมาจนจะจบแล้ว สิ่งที่หลายคนอยากรู้ก็คือ กระบวนการผลิตนั้น “เขาทำมันอย่างไร” เพื่อไม่ให้เสียเวลา เราได้ไปสำรวจมาให้คุณเรียบร้อยแล้ว โดยคร่าวๆ ปัจจุบันสามารถเลือกได้ประมาณ 2 ทางใหญ่ๆ แต่มาจากเครือบริษัทเดียวกัน

แบบแรกโดยการนำของ Audi AG นั้นจะเริ่มต้นจากใช้ผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพเป็นต้นทุนผ่านกระบวนการจนได้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีสูตรทางเคมี C4H8 จากนั้นนำเอาสสารดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการ Chemical Biotechnology Process (CBP) ในโรงงานแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมันนี ผลที่ได้ออกมาคือสารประกอบที่มีสูตรทางเคมีที่เปลี่ยนไปเป็น C8H18 โดยที่คุณสมบัติพิเศษคือการเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่มีสารซัลเฟอร์และเบนซีน ซึ่งทำให้เครื่องยนต์ที่นำน้ำมันแบบนี้ไปใช้สามารถเผาไหม้อย่างหมดจด

Audi e-Diesel plant
Planning of Audi e-diesel plant in Laufenburg

โดยที่จะสังเกตได้ว่า เทคโนโลยีที่ Audi AG เลือกใช้นั้นสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทั้งการผลิตน้ำมัน e-Fuels Diesel และ Gasoline ซึ่งหากมองในเชิงอุตสาหกรรมอันนี้น่าสนมากๆ แต่เราก็ยังไม่เห็นเรื่องของต้นทุนในการผลิตทำให้ตอนนี้ก็ยังบอกอะไรมากไม่ได้

แนวทางที่สองที่ดูเหมือนรักษ์โลกตลอดขบวนการผลิตนั้นเต็มไปด้วยสีเขียวที่ไม่มีพืชสมุนไพรตัวใดเข้ามาเกี่ยวข้อด้วย โดยที่แนวคิดนี้ได้รับการหนุนหลังจาก Porsche ด้วยเม็ดเงิน 75 ล้านเหรียญสหรัฐไปยังโรงงาน HIF ในประเทศชิลี

Credit: HIF Global

โดยขั้นแรกนั้น HIF จะทำการสกัด Hydrogen โดยกระบวนการ Electrolysis ที่แยกน้ำ (เช่น น้ำทะเลจากโรงกลั่นน้ำทะเล) ออกเป็นส่วนประกอบของ Hydrogen และ Oxygen ขั้นตอนที่สองจะมีการนำเอา Hydrogen ที่ได้ไปรวมกับ CO2 (ที่ทำการแยกจากอากาศทั่วไป) เพื่อที่จะเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิง e-Fuels ในแบบของเหลว

โดยในกระบวนการรวมกันระหว่าง Hydrogen และ CO2 จะเกิดขึ้นภายใต้สภาพความกดดันสูงเพื่อเร่งปฏิกิริยาให้ทั้งสองรวมตัวกัน เมื่อสสสารทั้งสองรวมตัวกันแล้วต่อไปก็นำเอากระแสไฟฟ้าเข้ามาเพื่อกระบวนการเปลี่ยนพลังงานเป็นเป็นของเหลว กลายมาเป็นของเหลวสังเคราะห์หรือ น้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ e-Fuels ที่ง่ายต่อการจัดเก็บและง่ายต่อการขนส่ง

Porsche มั่นใจกับเชื้อเพลิงแบบใหม่ที่ตัวเองผลิตขึ้นมาได้มาก ถึงขนาดที่ว่าน้ำมันเชื้อเพลิงแบบใหม่นี้จะนำไปใช้กับรถสปอร์ต ตัวตึง ของแบรนด์อย่าง 911 โดยที่ความหวังของบริษัทนั้นก็คือการยืดอนาคตที่ต้องทำให้ 911 นั้นต้องกลายไปเป็นม้าพยศที่มีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้กระทั่งระบบ Hybrid ก็ตาม

 

สุดท้ายเราก็ต้องมาจับตามองกันต่อไปว่า e-Fuels จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ เพราะในวันนี้กระบวนการผลิตนั้นก็พิสูจน์แล้วว่าทำได้จริง แต่ยังไม่มีการพูดถึงต้นทุนและประสิทธิภาพเมื่อนำไปใช้งาน แต่ถ้ามันดีกว่าน้ำมันทั่วไปสวนกลับราคาที่ถูกกว่า อีกไม่นานก็คงได้ใช้งานกันเป็นธรรมดา

 

สำหรับท่านที่ชอบและติดตามวงการ พลังงานและความยั่งยืน คุณสามารถติดตามข่าวสารและบทความที่เกี่ยวข้อง ได้ทาง ช่องทางนี้

Related Articles