รู้จักกับรถยนต์ไฟฟ้า มีกี่ประเภท ต่างกันตรงไหน

Share

 

หลายคนอาจจะเคยได้ยินตัวย่อหลากหลายเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า EV (BEV) vs PHEV vs FCEV vs Hybrid ทั้งหมดนี้เหมือนกันตรงที่ใช้พลังงานไฟฟ้า แล้วต่างกันตรงไหน

 

วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักบรรดากลุ่มรถ(ใช้)ไฟฟ้าเหล่านี้ ให้รู้ว่าแต่ละแบบเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

ปัจจุบัน ตัวเลือกรถยนต์ไฟฟ้าเริ่มออกมาให้เห็นหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้าทั้งหมด (BEV) ไปจนถึงรถยนต์ไฮบริดที่ใช้น้ำมันเบนซิน (HEV) โดยมีความแตกต่างกันมากมาย รถยนต์ไฟฟ้าบางรุ่นใช้เซลล์เชื้อเพลิงหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเบนซินเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าแทนแบตเตอรรี่ที่พลังงานสูงหรือความจุขนาดใหญ่

แต่อย่างหนึ่งที่บอกได้เลยว่า เป็นความเหมือนที่ทุกคนมี ก็คือ รถยนต์ไฟฟ้าทุกคันมีมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับขับเคลื่อนยานพาหนะ ไม่ว่าจะขับเดี่ยวหรือร่วมกับเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเบนซิน (ICE) โดยที่ยานพาหนะทุกรูปแบบที่ยกตัวอย่างมาว่าเป็น ยานยนต์ไฟฟ้า นั้น มีเพียงรถยนต์ไฟฟ้าแบบที่ใช้แบตเตอรี่เท่านั้นที่สามารถเรียกตัวเองได้ว่าเป็น EV ที่แท้จริง

 

เจาะลึก แยกประเภทของแต่รถยนต์ไฟฟ้าในละแบบ

โดยดูรวมๆ รถยนต์ไฟฟ้าอาจแยกแยะได้ยาก แต่คุณสามารถแบ่ง EV-Electric Vehicle ประเภทต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่พื้นฐานเหล่านี้ได้

EV/BEV : คือรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่เป็นพลังงาน เลยสามารถเรียกได้ว่าเป็น รถยนต์ไฟฟ้าล้วน ดังนั้นบางครั้งจึงย่อว่า EV นอกเหนือจาก BEV ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น รถประเภทนี้ใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟซ้ำได้เป็นแหล่งพลังงานในการขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า โดยที่สามารถชาร์จพลังงานไฟฟ้าซ้ำใหม่ได้ทั้งแบบช้าด้วยเครื่องชาร์จไฟแบบเสียบไฟบ้านหรือเครื่องชาร์จแบบเร็วที่มีอยู่ตามสถานีชาร์จรถไฟฟ้า

EV (BEV) vs PHEV vs FCEV vs Hybrid ทั้งหมดนี้ดูเหมือน แต่ต่างกันตรงไหน

ตัวอย่างเช่น แบรนด์ที่เป็นข่าวดังแค่จดทะเบียนบริษัทอย่าง Tesla ในประเทศไทย หรือที่กำลังบุกครั้งใหญ่อย่างรถยนต์ไฟฟ้าที่มาจากประเทศจีน รวมถึงค่ายยุโรปที่กำลังทยอยนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Volvo ที่นำเอา C40 และ XC40 Pure Electric ที่ถือว่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าคุณภาพสูงในราคาที่ดูเป็นมิตร

 

HEV : รถยนต์ไฮบริดนั้นเรียกรวมทั้งแบบที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์และแบบที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในร่วมขับเคลื่อน โดยตอนนี้มีออกมาหลายรุ่นหลายแบบแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มเคลื่อนตัวรถด้วยการขับเคลื่อนของมอเตอร์ไฟฟ้า หลังจากนั้นเมื่อเคลื่อนตัวไปได้ในระดับความเร็วหนึ่ง (ซึ่งไม่มาก) ก็จะเปลี่ยนมาขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาป โดยทั่วไปรถยนต์ไฮบริดนั้นจะไม่สามารถเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอร์รี่ได้ แต่การเติมพลังงานไฟฟ้าเข้าใหม่นั้นจะได้จากเครื่องยนต์และการชาร์จไฟกลับจากการเบรกขณะขับรถ (Re-Generative Break)

EV (BEV) vs PHEV vs FCEV vs Hybrid ทั้งหมดนี้ดูเหมือน แต่ต่างกันตรงไหน

รูปแบบของรถยนต์ไฮบริดนั้น น่าจะเป็นที่รู้จักของคนไทยมากที่สุด เพราะมีการนำเข้าสู่ตลาดในประเทศไทยนับ 10 ปี นำขบวนมาโดยลูกพี่ใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่าง Toyota ที่นำเอา Prius Gen2 เข้ามาในประเทศไทย จนวันนี้ยืนตลาดด้วย Camry Hybrid

 

PHEV : รถแบบ Plug-in Hybrid นั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของรถยนต์ไฮบริดแต่สามารถเสียบชาร์จเพื่อประจุไฟฟ้าใหม่ได้ โดยที่ส่วนใหญ่ของรถแบบนี้นั้นมีแนวโน้มว่าสามารถประจุไฟฟ้าได้มากกว่ารถยนต์ไฮบริดปกติ ซึ่งหมายความว่าจะสามารถเดินทางด้วยไฟฟ้าได้ระยะทางมากกว่า

EV (BEV) vs PHEV vs FCEV vs Hybrid ทั้งหมดนี้ดูเหมือน แต่ต่างกันตรงไหน

โดยที่ในประเทศไทยนั้น รถยนต์ประเภท PHEV นั้น มีขายอยู่หลากหลายแบรนด์ ตั้งแต่กลุ่มรถยุโรปที่เดินหน้าขายอย่างเต็มกำลัง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะปัจจุบันมาตรฐานมลภาวะในยุโรปข่อนข้างเข้มข้น ทำให้การเปลี่ยนสู่รถยนต์แบบผสมระหว่างเครื่องยนต์สันดาปและไฟฟ้านั้นจะกลายเป็นหลักของรถยนต์ที่ขาย ซึ่งจะรวมถึงตลาดในประเทศไทยด้วย

 

EREV : ย่อมาจาก Extend Range EV แต่ก็ยังเป็นหนึ่งรูปแบบของรถยนต์ไฮบริดแบบหนึ่ง แต่ออกแบบให้ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวไม่มีเครื่องยนต์สันดาปเข้ามาช่วยขับเคลื่อนใดๆ หน้าที่ของเครื่องยนต์สันดาปนั้นมีเพียงปั่นไฟฟ้าเข้ามาชาร์จเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่หรือส่งพลังงานฟ้าให้กับมอเตอร์โดยตรงเมื่อต้องการเพิ่มพลังในการขับเคลื่อน ปัจจุบันในบ้านเราสามารถเห็นได้จาก Nissan Kicks e-Power หรือในอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นอาจจะเรียกว่านี่คือ Serial Hybrid

EV (BEV) vs PHEV vs FCEV vs Hybrid ทั้งหมดนี้ดูเหมือน แต่ต่างกันตรงไหน

FCEV : รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงนั้นเป็นรถไฟฟ้าที่แตกต่างจากรูปแบบอื่นๆ ข้างบนทั้งหมด เพราะแทนที่จะใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ พวกเขาใช้เซลล์เชื้อเพลิงที่สร้างกระแสไฟฟ้าผ่านปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเจนกับออกซิเจน เมื่อพลังงานหมดก็เพียงแต่มองหาสถานีไฮโดรเจนเพื่อเติมก๊าซไฮโดรเจนให้เต็มถัง คล้ายกับการเติมน้ำมันในรถเครื่องยนต์สันดาป ซึ่งปัจจุบันรถยนต์เชลล์เชื้อเพลิงที่ประกาศวางขายอย่างเป็นทางการมีเพียงแบรนด์เดียวคือ Toyota Mirai แต่ก็ไม่ได้ประกาศวางขายไปทั่วโลก มีเพียงในประเทศญี่ปุ่นในบางพื้นที่แต่ก็อยู่ในรูปแบบกึ่งเช่าใช้ และในสหรัฐอเมริกา

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของรถยนต์เชลล์เชื้อเพลิงก็คือ สถานีบรรจุก๊าซไฮโดรเจน ที่วันนี้นับจำนวนวันนี้ทั่วโลกก็ไม่น่ามีเกิน 10 สถานี อีกปัญหาที่น่ากังวลก็คือในสภาพของประเทศเขตร้อนในประเทศไทยนั้น มีความเสี่ยงเรื่องของการระเบิดของก๊าซไฮโดรเจนสูงอยู่ หากเกิดความผิดพลาดความเสียหายก็ไม่น่าจะต่างอะไรกับผลของระเบิดไฮโดรเจนเลยทีเดียว

 

ผู้ที่หมายตาว่าจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสักคันมาขับในช่วงน้ำมันแพง จึงควรศึกษาให้รู้ข้อดีข้อเสียของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภทเสียก่อน พอๆ กับประโยคทองที่ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล ต่างกันที่รถยนต์ไฟฟ้าไม่ได้มีความเสี่ยงขนาดนั้น นอกจากจะให้ประโยชน์ต่อผู้ขับขี่ในเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังช่วยให้เรากลายเป็นส่วนหนึ่งที่รักษ์โลก ช่วยลดมลพิษบนท้องถนนได้ แค่ควรศึกษาให้เข้าใจระบบและความสะดวกในการใช้ในงานรูปแบบต่างๆ  

innomatter

innomatter

ข่าวไอที นวัตกรรม พลังงาน และความยั่งยืน

Related Articles