Cyber Dominance อีกระดับของความรู้ด้านความปลอดภัย ที่ต้องตามให้ทัน

Cyber Dominance อีกระดับของความรู้ด้านความปลอดภัย ที่ต้องตามให้ทัน ถึงเวลาต้องเลือกที่จะรู้ให้เท่าทัน หรือยอมเป็นเหยื่อเหมือนเดิม
Share

 

ในวันที่โลกแยกเส้นทางเป็นคู่ขนานระหว่างโลกเสมือนและโลกจริง หรือว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเลือก ยาเม็ดสีฟ้าหรือสีแดง เพื่อให้รู้ว่าความจริงตรงหน้าเป็นเช่นไรและทำอย่างไรถึงจะรู้และวางแผนรับมือล่วงหน้าในเรื่อง ความปลอดภัยไซเบอร์

 

คำถามแรกที่ Morpheus มีให้ Neo ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่อง The Matrix ที่ออกฉายในปี 1999 ว่าจะเลือก ยาเม็ดสีอะไร แดงหรือฟ้า เพื่อที่จะปลดปล่อยจากการควบคุมของ The Matrix ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น OS เหนือ OS ที่เข้าครอบงำความคิดของมนุษย์จนต้องตกอยู่ในความควบคุมของมัน

กลับมาที่โลกแห่งความจริง คงมีหลายคนเชื่ออยู่แล้วว่าสถานการณ์มนุษย์ทุกวันนี้ เริ่มเข้าใกล้สิ่งที่เราเห็นในหนังมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะภัยคุกคามต่างๆ ก็ดาหน้าเกิดขึ้นใหม่ทุกวัน แถมเก่งกล้าขึ้นมาก จนละม้ายคล้ายกับ Agent Smith โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประพฤติชั่ว ที่ ณ วันนี้ถ้ากลับไปดูหนังเรื่องนี้ใหม่ก็คงเรียกมันว่า ภัยคุกคามระดับมหันตภัย ของโลก

คำถามคือในโลกความเป็นจริงนั้น มนุษย์โลกปกติ คงยากที่จะไปหายาเม็ดแดงอย่างที่ Neo เลือกเพื่อทำให้มองเห็นภาพความจริง และสามารถต่อสู่กับ The Matrix เพราะเรานั้นไม่ใช่ The One แต่ความจริงแล้วมนุษย์ในโลกของความเป็นจริงนั้นสามารถสร้าง Topology หรือกระบวนทัศน์ให้ทุกๆ คนนั้นเสมือนมียาเม็ดสีแดงได้เช่นเดียวกัน

Cyber Dominance คือยาเม็ดสีแดงนั่นเอง

ในภาพรวมคือ ความเป็นผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการควบคุมในระดับสูงขึ้นในระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี เป็นการควบคุมและป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้องค์กรหรือประเทศมีความสามารถในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ และรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการควบคุมสามารถทำได้ด้วยการใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การป้องกันอัตโนมัติทางไซเบอร์ การใช้ประสบการณ์ทางไซเบอร์ของกองทัพ เอกชนและองค์กรสาธารณะ เทคนิคการสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง และความร่วมมือระหว่างส่วนราชการและเอกชนในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

การบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์เป็นส่วนสำคัญของเรื่องนี้ ซึ่งรวมถึงการประเมินความเสี่ยงทางไซเบอร์ เพื่อทราบความพร้อมและปัจจัยที่เป็นอันตราย และการวางแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการลดความเสี่ยงและเพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่อการละเมิดความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

ในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงและความซับซ้อนของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การเข้าใจแนวโน้มทางเทคโนโลยีและการสร้างความเข้มแข็งในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารจัดการและสร้างความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล

Cyber Dominance ฟังดูอาจจะไกลตัว

แม้ว่าแนวคิดนี้จะเป็นเรื่องที่ฟังแล้วยิ่งใหญ่ และเป็นเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานระดับสังคมที่ต้องลงมือทำ แต่ในฐานะของการเป็นสมาชิกในแต่ละสังคม มนุษย์ตัวเล็กๆ ก็สามารถผลักดันให้เรื่องนี้เกิดขึ้นได้จริง

“การเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความเชื่อมั่นทางไซเบอร์” หรือ “Cyber Dominance” เป็นกระบวนการหรือแนวคิดที่มุ่งเน้นในการสร้างและรักษาความเป็น “ผู้ตื่นรู้ด้านไซเบอร์” ในระดับสูงสุด ซึ่งประกอบด้วยการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อให้มีความสามารถในการควบคุมและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ และสามารถรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ไซเบอร์เพื่อสร้างสิ่งที่เรียกว่า “พลังทางไซเบอร์” (cyber power) เพื่อส่งเสริมส่วนกำลังและความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ ขององค์กรหรือประเทศให้มากขึ้น

การสร้างความเป็นผู้นำทางด้านไซเบอร์มีหลายองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. ความรู้และความเข้าใจ การมีความรู้และความเข้าใจทางเทคนิคและแนวโน้มทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งสำคัญ ควบคู่ไปกับการติดตามและศึกษาการพัฒนาทางเทคโนโลยีและความเสี่ยงทางไซเบอร์เป็นประจำ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาความรู้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

2. การบริหารจัดการความเสี่ยง การประเมินและจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความเชื่อมั่น รวมถึงการสร้างแผนกลยุทธ์และกรอบการดำเนินงานในการตรวจสอบและปรับปรุงความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อลดความเสี่ยงและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการโจมตีทางไซเบอร์

3. การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การสร้างและรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถด้านไซเบอร์มีความสำคัญ การฝึกอบรมและส่งเสริมความรู้และทักษะในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ การสร้างทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถในการตรวจจับและการตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์

4. การสร้างสัมพันธภาพระหว่างภาคีเครือข่าย การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน รวมถึงการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเทคนิคและการสนับสนุนกันทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

5. การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ เช่น เทคโนโลยีการตรวจจับและการป้องกันอัตราการโจมตีทางไซเบอร์ที่ล้ำหน้า การพัฒนาเทคโนโลยีการระบายความร้อนในระบบเครือข่าย การพัฒนาเทคโนโลยีการรักษาความลับของข้อมูล เป็นต้น

6. การบริหารจัดการเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอ เนื่องจากภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การสร้างความเข้มแข็งทางไซเบอร์เป็นกระบวนการร่วมกันระหว่างองค์กรและประเทศที่ต้องเข้าใจและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในยุคปัจจุบันที่เชื่อมต่อกันอย่างหนาแน่นในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

จากทั้งหมด 6 แนวทาง อย่างน้อยหากคุณเป็นคนธรรมดาหรือผู้ใช้เทคโนโลยีปลายทาง สิ่งที่ทำได้อย่างแรกก็คือการสร้างความรู้และความเข้าใจ เรียกว่าความเสียหายในหลายกรณี ณ วันนี้ที่เกิดขึ้น มาจากความไม่รู้และไม่เข้าใจในเรื่องความเสี่ยงของผู้ใช้เอง เช่น กรณีของการหลอกดูดเงินจากบัญชีเงินฝากใดๆ ก็ตาม หากสืบลงลึกพอจะพบว่ามาจากความประมาทโดยผู้เสียหายที่มักจะคิดว่า เราคงไม่เจอการหลอกหรือโจมตีแบบนี้แน่ๆ

ทุกวันนี้หลายองค์กรมีความพยายามที่จะส่งต่อความรู้และให้คำแนะนำในการป้องกันตัวจากภัยไซเบอร์อยู่มากมาย ยกตัวอย่าง AIS ที่ออกโครงการชื่อน่ารักอย่าง อุ่นใจ Cyber หรือ True ที่ยังคงทยอยออกโครงการมาเรื่อยๆ หรือภาครัฐทั้งทาง ETDA (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) NCSA (สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ)

ที่มีตั้งแต่ความรู้ระดับพื้นฐานสำหรับคนธรรมดา ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันภัยคุกคามด้านไซเบอร์ คนทุกระดับในสังคม สามารถเลือกได้ว่าอยากจะมีความรู้ในด้านไหน เช่นการรู้เท่าทันเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ หรือต้องการเป็นผู้ตื่นรู้ ในแง่นี้มากน้อยแค่ไหน

สุดท้ายทั้งหมดเป็นเรื่องของ ส่วนผสม ของสังคม ที่จะทำให้เกิดสมดุลในเรื่อง Cyber Dominance อย่างไร เพราะเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ย่อมส่งผลต่อภาพรวมทั้งหมดอยู่ดี ในโลกความเป็นจริงคงไม่สามารถจะมี The One มาสู้กับเรื่องลำพังแน่นอน ความร่วมมือจึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความปลอดภัย ไม่ใช่แค่คนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง

 

Remark : เกี่ยวกับ The Matrix

ภาพยนตร์ชุดนำเสนอเรื่องราวแนวไซเบอร์พังก์ของการล่มสลายทางเทคโนโลยีของมนุษยชาติ ซึ่งการสร้างปัญญาประดิษฐ์นำไปสู่การแข่งขันของเครื่องจักรที่ตระหนักในตนเอง โดยกักขังมนุษยชาติเอาไว้ในระบบความเป็นจริงเสมือนที่มีชื่อว่า เดอะ เมทริกซ์ เพื่อเอาไว้เป็นแหล่งพลังงาน ในบางโอกาส ผู้ต้องขังบางคนสามารถหลุดพ้นจากระบบและถูกไล่ล่าโดยปัญญาประดิษฐ์ทั้งภายในและภายนอก เพราะถือว่าเป็นภัยคุกคาม ภาพยนตร์เน้นไปที่ชะตากรรมของนีโอ  ทรินิตี และมอร์เฟียส ที่พยายามปลดปล่อยมนุษยชาติออกจากระบบในขณะที่ถูกผู้ปกครองของมันไล่ล่า เช่น เจ้าหน้าที่สมิธ (ฮิวโก วีฟวิง) เรื่องราวประกอบด้วยการอ้างอิงถึงแนวคิดทางปรัชญา, ศาสนาหรือจิตวิญญาณ ท่ามกลางประเด็นอื่น ๆ ของทางเลือกหรือการควบคุม, สมองในภาชนะผ่านการทดลองทางความคิด

 

ผู้อ่านที่ติดตาม ข่าว และบทความทางด้านความปลอดภัยไซเบอร์ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

Related Articles