รู้จักกับ อัลกอริทึมของ TikTok ที่แสนรู้จนชวนให้ขนลุก

Share

 

รู้จักกับ อัลกอริทึมของ TikTok ที่แสนรู้จนชวนให้ขนลุก

 

ความน่าฉงนของ AI คือการเปลี่ยนคณิตศาสตร์ให้กลายเป็นพลังลึกลับ และกำหนดท่วงทำนองชีวิตของมนุษยชาติให้ดำเนินไปด้วยโปรแกรมคำสั่ง หรือการเขียนโค้ดกันเป็นซีรีย์เลยทีเดียว

ความจริงที่รับรู้กันได้ในสากลโลก ก็คือ “อัลกอริทึม” นั้นรู้จักคุณมากกว่าคุณรู้จักตัวเองซะอีก โปรแกรมคอมพิวเตอร์พวกนี้สามารถคาดเดาได้กระทั่งว่า คุณจะลาออกจากงานเมื่อไหร่ หรือเลิกกับแฟนเมื่อไหร่ เพียงแค่คุณเขียนเรื่องด้วยความยาวสักพันคำ อัลกอริทึมเหล่านี้ ก็จะสามารถกำหนดชะตาชีวิตของคุณภายในช่วงเวลา 4 ปีได้ทันที โดยในปัจจุบันดูเหมือน อัลกอริทึม ของ TikTok จะมีความแสนรู้มากที่สุดในบรรดาแพลตฟอร์มต่างๆ  โดยมีรายงานว่ามันสามารถค้นหาความชื่นชอบทางเพศของคุณได้ และสามารถเผยความชอกช้ำในวัยเด็กของคุณได้เช่นกัน ซึ่งในขณะที่ระบบของ Facebook จะขอให้คุณตั้งโปรไฟล์ส่วนตัวและให้ข้อมูลสำคัญอย่างข้อมูลส่วนตัวเพื่อดำเนินการในเรื่องการตั้งค่าต่างๆ แต่ดูเหมือนว่า TikTok จะใช้วิธีการสังเกตเอา ซึ่งผลลัพธ์อย่างหลังสร้างความมหัศจรรย์ใจมากซะจน Jess Joho ได้บรรยายไว้ในบล็อกโซเชียล Mashable ว่า

“เหมือน TikTok กำลังอ่านจิตวิญญาณของคุณได้ราวกับเป็นผู้หยั่งรู้ในระบบดิจิทัล ด้วยการส่องเข้าไปถึงตัวตนซึ่งเป็นจิตใต้สำนึกที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน”

เรื่องนี้ มีด้านมืดอยู่เหมือนกัน เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่จะถูกดูดเข้าไปในคอนเทนต์กลุ่ม WitchTok และเรื่องฮาวทูต่างๆ แต่ก็จะมีอีกหลายคนที่ลงเอยด้วยการไถดูคอนเทนต์ต่อไปเรื่อยเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น หรือ ADHD อาการทูเร็ตต์ หรือออทิสติกส์ (เช่น #mentalhealth ที่มีผู้เข้าชมเกือบ 21 พันล้านครั้ง ซึ่งเป็นเศษเสี้ยวของ #dance ที่มียอดเข้าชมถึง 341 พันล้านครั้ง แต่กระนั้นก็ยังแสดงให้เห็นถึงอะไรบางอย่าง) แม้จะเผยให้เห็นข้อมูลที่ปกติถูกปิดไว้ แต่บางคนก็กังวลว่าเนื้อหาด้านจิตเวชอาจถูกบิดเบือนจากความจริงได้ “เมื่อ (อัลกอริทึม) ชักจูงคุณไปอีกทาง และคุณก็คล้อยตาม” Inna Kanevsky นักจิตเวช ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงใน TikTok ที่มีชื่อบัญชีว่า @dr_inna กล่าวเสริม “และทำให้คุณรู้สึกเหมือนว่าได้รับการวินิจฉัยอาการแล้ว” ซึ่งนั่นอาจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตของคนๆ นั้นได้ ด้วยอัลกอริทึมที่สร้างขึ้นเพื่อหากำไรและผู้สร้างเนื้อหาที่มีความน่าเชื่อถือแตกต่างกันไป

แต่การถกประเด็นเรื่องนี้เป็นแค่เพียงส่วนเล็กๆ ของแนวทางในการวางจุดยืนของ TikTok และอัลกอริทึมในลักษณะเดียวกัน ซึ่งไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือในการสร้างคำทำนาย แต่เป็นการสร้างมุมมองเชิงลึก แม้ว่าอัลกอริทึมที่ให้ข้อเสนอแนะได้อย่าง Amazon ตลอดจน Netflix ถูกออกแบบมาเพื่อให้คาดเดาได้ว่าคุณอยากดูอะไรต่อไป ทว่า TikTok สามารถรู้สึกได้ราวกับว่ามันกำลังแสดงให้เห็นว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาคุณเป็นคนแบบไหน ซึ่งจุดนี้ ทำให้เราเปิดตัวเองสู่ความเสี่ยง เหมือนเป็นการปล่อยให้ AI ทำความเข้าใจความเป็นตัวตนของเรามากเกิน” ความสัมพันธ์รูปแบบใหม่กับระบบคอมพิวติ้งในลักษณะนี้ อาจสร้างโอกาสใหม่ในการพัฒนาตัวเอง อีกทั้งจำแนกบุคลิกของเราได้ชัดเจนมากกว่าที่ผ่านมา

George Zarkadakis ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ได้เคยเขียนเอาไว้ในหนังสือของตัวเอง “In Our Own Image” ในปี 2016 ว่าเป็นเวลานับหลายพันปีมาแล้วที่มนุษย์พยายามนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างการเปรียบเปรยหรืออุปมาอุปไมยต่างๆ เพื่อให้เข้าใจถึงความนึกคิดและเหตุผลในตัวเอง ตัวอย่างเช่น ในยุคจักรวรรดิโรมัน ความสำเร็จในการคิดค้นวิศวกรรมของระบบไฮโดรลิค ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นถึงความฉลาดของมนุษย์ตามทฤษฏี สี่ “อารมณ์ขัน” (four humours) ที่กำหนดโดยของเหลวที่เป็นสี่องค์ประกอบในร่างกายมนุษย์ ซึ่งเป็นทฤษฏีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ โดยในปัจจุบัน เราอธิบายการทำงานของสมองว่าเป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาเครื่องจักรกลที่ “เก็บ” และ “ดึง” ความทรงจำ” รวมถึง “ประมวลผลข้อมูล” แม้คำอุปมาอุปมัยหรือการเปรียบเปรยเหล่านี้ยังคงมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของประสาทวิทยาในมนุษย์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ก็เผยให้เห็นถึงความคล้ายคลึงที่น่าสนใจบางอย่างระหว่างจิตใจของเรากับเครื่องจักรกลอย่างคอมพิวเตอร์ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว

อัลกอริทึมของ TikTok ก็เหมือนกับอัลกอริทึมทั่วไป ที่ความสามารถในการทำนายมาจากผลลัพธ์ของการประมวลผลซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีคนสร้างบัญชีใหม่ อัลกอริทึมก็จะเริ่มฟีดวิดีโอยอดนิยมมากมายหลายประเภท เพื่อทดสอบการตอบสนองของผู้ใช้บัญชีรายนั้น เกี่ยวกับเนื้อหาในหมวดกว้างๆ ที่เข้าไปดู ตั้งแต่การแดนซ์ที่เป็นไวรัลไปจนถึงการซ่อมแซมบ้าน ซึ่งสอดคล้องตามการสำรวจของ Wall Street Journal เมื่อเร็วๆ นี้ เมื่อหนังสือพิมพ์ปล่อยให้บอทจำนวนกว่า 100 ตัวหลุดมาบน TikTok แพลตฟอร์มก็จะเริ่มสำรวจและเก็บความสนใจของบอททุกตัวที่ถูกโปรแกรมมาล่วงหน้า ได้ภายในเวลาไม่ถึงสองชั่วโมง

John Bargh ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์เชิงปัญญาแห่งมหาวิทยาลัยเยล พูดถึงเรื่องนี้ว่า แม้ว่ามันดูเป็นคณิตศาสตร์ที่ค่อนข้างง่าย แต่ก็เป็นการเลียนแบบการเรียนรู้ทางหลักสถิติที่แปลกประหลาด ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในวิธีที่จิตมนุษย์รับความรู้ใหม่มาโดยไม่รู้ตัว เพียงแค่สังเกตรูปแบบต่างๆ รอบตัว เหมือนกับระบบอัลกอริธึมของ TikTok ที่ผู้คนมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาบ่อยครั้งโดยไม่ทันรู้ตัว

ในอีกมุมหนึ่ง มันคือกระบวนการที่ดำเนินไป โดยที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว และยังถูกกำหนดโดยสิ่งที่ดึงความสนใจของคุณนั่นเอง

ดังนั้น แม้ดูเหมือนว่า TikTok จะเปิดเผยสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับตัวเอง แต่จริงๆ แล้ว TikTok ค่อนข้างแม่นยำในการทำให้คุณเห็นว่าความสนใจของคุณอยู่ตรงไหน หรือไปทางไหน หากคุณไม่โดนบรรทัดฐานทางสังคมปิดกั้นความอยากรู้ซะก่อน ในขณะที่ Joho เขียนในบล็อก Mashable ว่า “อัลกอริทึมรู้ว่าฉันเป็นไบเซ็กชวลก่อนที่ฉันจะรู้ตัวด้วยซ้ำ” โดยสุดท้ายเธอก็สรุปว่าการค้นพบตัวตนของเธอไม่เกี่ยวกับความสามารถของอัลกอริทึมที่เปิดเผยความต้องการของเธอ และเรื่องบรรทัดฐานของรักต่างเพศที่ต้องปกปิด ในช่วงเวลานี้ TikTok เปรียบเสมือนกระจกบานใหญ่ที่ขยายให้เห็นภาพสะท้อนตัวตนที่คุณอาจมองข้ามไป การประมวลผลด้วยความละเอียดสูงสามารถเผยให้เห็นตัวตนเหล่านี้ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวของผู้ใช้เองมากกว่าที่ทำให้เรื่องเหล่านี้กลายเป็นเรื่องลึกลับซับซ้อน

ด้วยความที่อัลกอริทึมของ Tik Tok มีชื่อเสียงแพร่หลายในระดับสากล จึงอาจทำให้เชื่อได้ง่ายว่าฟังก์ชั่นวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของ TikTok ถือเป็นการวินิจฉัยได้ หรือทำให้เราคิดว่ามันเป็นแบบนั้นจริง และอาจเข้าใจว่ามันเชื่อถือได้ ซึ่งถ้าอัลกอริทึมของ TikTok คาดการณ์ถูกว่าคุณคือเลสเบียนที่ชื่นชอบชีวิตชนบทและชอบขลุกอยู่กับเจ้าเฟรนช์บูลด็อกทั้งวัน อย่างน้อยก็ทำให้เชื่อได้ว่าระบบเดียวกันนี้จะแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นได้น่าเชื่อถือเหมือนกัน แต่ก็ยังมีคำถามอีกมากมายที่ชวนให้สงสัย เนื่องจาก TikTok นั้นถูกออกแบบมาเพื่อหาประโยชน์จากความสนใจใคร่รู้ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

ถ้าจะพูดให้ชัดก็คือ แรงจูงใจของ TikTok ไม่ใช่การวิเคราะห์ในเชิงจิตวิทยา แต่เป็นเรื่องของการทำกำไร ซึ่งอัลกอริทึม “จะพยายามจะทำให้คุณแตกต่างจากผู้ใช้ทั่วไป” เพื่อดึงดูดความสนใจของคุณ (และหาเงินต่อไป) Johannes Eichstaedt นักวิทยาศาสตร์ด้านสังคมศาสตร์เชิงการคำนวณ (computational social scientist) ของ Stanford Institute for Human-Centered AI กล่าว “ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่เรื่องใดก็ตาม ระบบจะเข้าไปสำรวจเรื่องนั้นๆ” ในชีวิตจริง ความแตกต่างระหว่างคนที่ได้เห็นวิดีโอเกี่ยวกับการทำสวนกับคนที่ไม่ได้ ค่อนข้างมีน้อยกว่าเนื้อหาที่สองคนนี้ได้รับเหมือนๆ กัน ทว่า หลายบริษัทก็ยังคงอาศัยความแตกต่างที่แทบจะมองไม่เห็นเหล่านี้ ในการทำกำไรได้

สิ่งที่เริ่มจากความรู้สึกเหมือนว่าความเป็นไปได้นั้นไม่มีที่สิ้นสุด สามารถกลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เพราะตัวตนในโลกดิจิทัลบน TikTok และแพลตฟอร์มอื่นๆ เริ่ม “ฝังภาพลักษณ์ของคนให้เด่นชัดเจนมากขึ้นทีละนิด ว่าชอบอะไรและทำไมถึงชอบ” ศิลปินทัศนศิลป์อย่าง Jenny Odell ได้เขียนไว้ในหนังสือขายดีของเธอที่ชื่อ How to Do Nothing และเมื่อความเป็นตัวตนถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่จดจำได้ ทั้งเรื่องนิสัยใจคอ ความชื่นชอบ และแรงผลักดัน ที่สามารถดึงดูดได้ด้วยโฆษณาที่เหมาะสม คล้ายกับหน่วยการลงทุน ก็จะยิ่งช่วยให้ทำการตลาดเข้าถึงตัวคุณได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ตาม”

Source: Wired

 

Related Articles