ดร.คอเร เฮลเก คาร์สเตนเซน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์และผู้จัดการโครงการ OPTOCE จากสถาบัน SINTEF แห่งนอร์เวย์ กล่าวว่า “ขยะพลาสติกจำนวนประมาณ 13 ล้านตันรั่วไหลสู่ทะเลและมหาสมุ
ทรทุกปี และได้มีส่
วนในการทำลายความหลากหลายทางชี
วภาพ สถานะทางเศรษฐกิจ และสุขภาพของทุกคน หากไม่มีการดำเนินการใด ๆ คาดว่าปริมาณขยะพลาสติก จะเพิ่มขึ้นถึงอีกสามเท่
าภายในปี 2583 ทั้งนี้การร่วมมือปฏิบัติ
การระหว่างประเทศถือเป็นกุ
ญแจสำคัญในการจัดการกั
บขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทางก่อนที่
จะรั่วไหลไปสู่ทะเลและมหาสมุทร โดยสำหรับโครงการศึ
กษาในประเทศไทย ได้ทำการศึกษาเมื่อเดือนมีนาคม 2566 นำขยะพลาสติกปริมาณมากที่ไม่
สามารถนำมารีไซเคิลได้ (Non-recyclable plastic waste : NRPW) จากการรื้อร่อนหลุมฝังกลบเก่
าที่ปิดดำเนินการแล้วนำมาใช้เป็
นเชื้อเพลิงทดแทนในกระบวนการผลิ
ตปูนซีเมนต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึ
กษาประโยชน์ที่ได้จากการรื้อร่
อนหลุมฝังกลบหรือบ่อขยะ และเก็บข้อมูลการดำเนินงานในปั
จจุบัน โดยกระบวนการเผาร่วมในเตาปูนซี
เมนต์ หรือ Co-processing มีข้อดีหลายอย่าง โดยเฉพาะในการนำมาช่วยแก้ไขปั
ญหาขยะพลาสติก เพราะการเผาร่วมในเตาปูนซีเมนต์ สามารถช่วยทดแทนการใช้เชื้อเพลิ
งฟอสซิล โดยนำขยะพลาสติกมาใช้เสริมร่
วมกันกับถ่านหินในเตาเผาเพื่
อผลิตปูนซีเมนต์ สามารถลดการพึ่งพาการใช้แหล่
งเชื้อเพลิงฟอสซิล โครงการศึกษานำร่อง 16 โครงการได้ทำการศึกษาร่วมกั
บโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ใน 4 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ไทย และเวียดนาม โดยนำขยะพลาสติกหลายชนิดที่ไม่
สามารถรีไซเคิลได้ปริมาณมาก มาทดสอบความเป็นไปได้ทั้งในเชิ
งเทคนิคและสิ่งแวดล้อม จากการทดสอบพบว่าการนำขยะพลาสติ
กมาเผาร่วมในเตาเผาผลิตปูนซี
เมนต์ ไม่ส่งผลกระทบต่อการปล่อยสารพิษ รวมถึงค่าไดออกซิน สู่บรรยากาศ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์เหล่านี้
สามารถช่วยป้องกันขยะพลาสติกรั่
วไหลลงสู่มหาสมุทรอย่างน้อย 650,000 ตันต่อปี ในขณะเดียวกันยังช่วยลดการใช้ถ่
านหินได้ 350,000 ตันต่อปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์
บอนไดออกไซด์ (CO2) ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างมี
นัยสำคัญ”
ล่าสุดสถาบันวิจัย SINTEF จากนอร์เวย์ และ อินทรี อีโคไซเคิล ได้ร่วมจัดงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “โครงการจัดการพลาสติกในมหาสมุทร ให้กลายเป็นโอกาสในเศรษฐกิจหมุนเวียน Ocean Plastic Turned into an Opportunity in Circular Economy (OPTOCE)” ภายในงานมีการเปิดเผยข้อมูลโดยรวมของโครงการ OPTOCE โดยมุ่งเน้นศักยภาพและผลการศึกษาของประเทศไทย รวมทั้งวิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐร่วมแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายด้านจัดการขยะตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน สถานการณ์ขยะในทะเลและแนวทางการจัดการขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ โดยได้เชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ สถาบันวิจัยและภาคการศึกษา กลุ่มผู้ผลิตสินค้าและภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมงาน