สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) และเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครั ฐและเอกชน จัด “ประชุมกลุ่มย่อยผู้ ประกอบการอาหารด้านมาตรการส่ งเสริมการบริจาคอาหารส่วนเกิน (Food surplus) ของประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การจัดตั้ งธนาคารอาหารแห่งชาติของประเทศ (Thailand’s Food Bank)” เป็นเวทีนำเสนอมาตรการส่งเสริ มและสนับสนุนการบริจาคอาหารให้ แก่ผู้ประกอบการที่ผลิ ตอาหารและที่เกี่ยวข้องได้เข้ าร่วมบริจาคอาหารส่วนเกินให้กั บโครงการ ทั้งในส่วนของมาตรการส่งเสริ มการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสั งคมจาก BOI มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกจาก อบก. และการสนับสนุนผู้เชี่ ยวชาญประเมินปริมาณการปล่อยก๊ าซเรือนกระจก (Carbon emission) ให้กับผู้ประกอบการจากโปรแกรม ITAP เพื่อขยายผลการส่งต่ออาหารส่ วนเกินให้เกิดขึ้นทั้งประเทศอย่ างยั่งยืน รวมถึงเป็นเวทีระดมความคิดเห็ นจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ต่อมาตรการส่งเสริมการบริ จาคอาหารส่วนเกิน
ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องมื อภายใต้โครงการการจัดตั้ งธนาคารอาหารแห่งชาติของประเทศ (Thailand’s Food Bank) ด้วยกัน 4 เรื่อง โดย 2 เรื่องแรกดำเนินการแล้วเสร็จคือ แนวปฏิบัติด้านความปลอดภั ยของอาหารบริจาค (Safety Guidelines for Food Donation) โดยไบโอเทค และส่วนที่ 2 เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับจั บคู่ผู้บริจาคและผู้รับบริจาค โดยเนคเทค ส่วนอีก 2 เรื่องที่กำลังดำเนินการคือ การจัดทำข้อมูลการลดการปล่ อยคาร์บอนจากการบริจาคอาหาร เพื่อผลักดันและสนับสนุ นมาตรการลดก๊าซเรื อนกระจกขององค์การบริหารจั ดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ใน 2 โครงการ คือ โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊ าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme) หรือ LESS และโครงการลดก๊าซเรื อนกระจกภาคสมั ครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือ T-VER โดยเป้าหมายปลายทางเพื่อนำไปสู่ การซื้อขายคาร์บอนเครดิ ตจากการบริจาคอาหารได้ในอนาคต และเรื่องที่ 4 คือ การจัดทำข้อมูลเพื่ อเสนอมาตรการส่งเสริมการบริ จาคอาหารครอบคลุมทั้งสิทธิ ประโยชน์ทางด้านภาษีของผู้บริ จาค และมาตรการลดการปล่อยคาร์ บอนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิ ดการบริจาคอาหารอย่างยั่งยืน
รศ.ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า เอ็มเทค เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ Thailand’s Food Bank ในด้านการจัดเตรียมฐานข้อมูลพื้ นฐาน สำหรับข้อมูลการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกของอาหาร ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ทาง อบก. จะสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเพื่ อสนับสนุนมาตรการ LESS และ T-VER ต่อไป โดยโครงการจัดตั้งธนาคารอาหารนี้ นับเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่ อทุกภาคส่วน และเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้ อมด้วย

การประชุมกลุ่มย่อยครั้งนี้เป็ นจุดเริ่มต้นของการสานพลั งความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างระบบและแนวทางการบริ หารจัดการอาหารส่วนเกิ นของประเทศไทย ในที่ประชุมมี การนำเสนอมาตรการส่งเสริมและสนั บสนุนการบริจาคอาหาร ประกอบด้วย มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพั ฒนาชุมชนและสังคมของสำนั กงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยคุณสาธาสินี คำไชย นักวิชาการส่งเสริมการลงทุ นชำนาญการ ซึ่งได้ให้ข้อมู ลขอบข่ายในการสนับสนุนที่จะได้ รับสิทธิประโยชน์ ได้แก่ ด้านเกษตรและระบบน้ำ ผลิตภัณฑ์ชุมชน สิ่งแวดล้อม ท่องเที่ยวชุมชน สาธารณสุข และการศึกษา
ขณะที่ มาตรการส่งเสริมและสนับสนุ นการบริจาคอาหารขององค์การบริ หารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) โดย ดร.สาธิต เนียมสุวรรณ ผู้จัดการสำนักรับรองคาร์ บอนเครดิต ได้หยิบยกตัวอย่างกิจกรรมที่ ขอรับรอง LESS ได้ เช่น การคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล การกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า (EV) เป็นต้น
และส่วนสุดท้ายคือ กลไกสนับสนุนผู้ประกอบการเพื่ อการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกั บสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยคาร์ บอนของโปรแกรมสนับสนุนการพั ฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) สวทช. โดยนายอภิรักษ์ วิเศษศรีพงษ์ ผู้จัดการงานอุตสาหกรรมวัสดุก้ าวหน้า ซึ่งทาง ITAP จะสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญให้แก่ผู้ ประกอบการกลุ่มอุ ตสาหกรรมอาหารที่จะร่วมบริ จาคอาหารส่วนเกินให้กับโครงการ ในการประเมินปริมาณการปล่อยก๊ าซเรือนกระจก (Carbon emission) เพื่อคำนวณคาร์บอนเครดิ ตตามมาตรฐานที่ อบก. กำหนด
“ประเด็นสำคัญในการประชุมกลุ่ มย่อยครั้งนี้ ได้แก่ การกำหนดมาตรการจูงใจ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอาหาร ธุรกิจร้านอาหาร และที่เกี่ยวข้อง หันมาบริจาคอาหารส่วนเกินอย่ างเป็นระบบ รวมถึงเพื่อสร้างความตระหนักรู้ ให้สังคมเห็นถึงความสำคั ญของการลดปริมาณอาหารส่วนเกิน และการนำอาหารส่วนเกินไปใช้ ประโยชน์ โดยการจัดตั้งธนาคารอาหารแห่ งชาติ จะถือเป็นกลไกหลักในการบริหารจั ดการอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน และกระจายอาหารไปยังผู้ที่ต้ องการ เป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปั ญหาความไม่มั่ นคงทางอาหารของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่ อประชากรกลุ่มผู้มีรายได้น้ อยและกลุ่มเปราะบาง” ดร.ปัทมาพร ประชุมรัตน์ นักวิจัยนโยบาย สวทช. หัวหน้าโครงการการจัดตั้ งธนาคารอาหารของประเทศไทย กล่าวปิดท้าย