เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ประกาศขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ Carbon Neutral

ACTIONS TOWARD A CARBON NEUTRAL SOCIETY งานเจตนารมณ์ของสมาชิกเครือข่าย SUN Thailand ขับเคลื่อนนโยบายเป้าหมายพื่อบรรลุ Carbon Neutral
Share

 

ความเป็นกลางทางคาร์บอน กลายเป็นเป้าหมายที่ทุกภาคส่วนตั้งที่จะไปหาในอนาคต การร่วมตั้งนโยบายร่วมกันเป็นอีกหนึ่งของแผนในการกำหนดทิศทางและรูปแบบการปฏิบัติเพื่อผลตามต้องการตามกรอบที่กำหนด

 

มจพ. จัดประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 “ACTIONS TOWARD A CARBON NEUTRAL SOCIETY” ร่วมประกาศเจตนารมณ์ของสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทยในการขับเคลื่อนนโยบายการกำหนดเป้าหมายทางสังคมเพื่อบรรลุค่าความเป็นกลางทางคาร์บอน

 

ศ.ดร. สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปี 2567 เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 (The 8th Annual Conference of Sustainable University Network of Thailand) ภายใต้ “Theme : Actions toward a carbon neutral society”

โดยมี คุณอภิชัย อร่ามศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเครือข่ายยั่งยืนฯ และ ดร.ชนะ ภูมี Vice President Sustainability SCG และนายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) พร้อมด้วย คุณชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ ผศ. ว่าที่ร้อยตรี ดร.กิตติคุณ รุ่งเรือง ประธานคณะกรรมการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย 2566 และ ผศ.ดร.กฤษชัย ศรีบุญมา รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนากิจการมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน และ รศ.ดร.ณัฐพงศ์ มกระธัช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมและกายภาพ มจพ. กล่าวรายงาน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย เป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเพื่อสร้างเครือข่าย และความร่วมมือในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคส่วนการศึกษา โดยเป็นต้นแบบให้กับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคมไทย

และการประกาศเจตนารมณ์ของสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทยในการขับเคลื่อนนโยบายการกำหนดเป้าหมายทางสังคมเพื่อบรรลุค่าความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) โดยตั้งเป้าหมายการดำเนินการภายในปี ค.ศ. 2040 ร่วมกัน ระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 3 อาคาร 50 ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จังหวัดนนทบุรี

ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงมาก และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและขยะ ส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเพิ่มพื้นที่ป่า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงถือกำเนิดเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยในขณะนั้น มีมหาวิทยาลัยจำนวน 16 แห่ง เป็นสมาชิกและเป็นมหาวิทยาลัยผู้ก่อตั้ง ได้ลงนามความร่วมมือเข้าร่วมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Sun Thailand) ปัจจุบันมีเครือข่ายรวมทั้งหมด 47 มหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัย แต่ละแห่งการจัดประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย

ครั้งนี้  ทีมงาน Green KMUTNB และเครือข่ายมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้เกิดการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยทั่วประเทศมีกิจกรรม จัดการประชุมเครือข่าย และนำเสนอผลงานด้านความยั่งยืนการประกวดโครงงานและนวัตกรรมความยั่งยืนของนิสิต นักศึกษา กิจกรรม การบรรยายเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมการพัฒนาที่ยั่งยืนจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และกิจกรรมการศึกษาดูงานตามเส้นทาง “โครงการ 3 คลอง 3 ราชธานี” และมีพิธีปิดการประชุม

เพื่อส่งมอบธงให้กับเจ้าภาพ การจัดประชุมวิชาการประจำปี เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้ง คณาจารย์ บุคลากร นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ของชาติ และ Sustainable Development Goals, SDGs ขององค์การสหประชาชาติ และยังเป็นการช่วยให้ประเทศไทยบรรลุ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero CO2 2050) ตามนโยบายของประเทศไทยและสหประชาติ ในปี ค.ศ. 2050 เพื่อให้เป็นต้นแบบในทุกภาคส่วนให้เแก่สังคมและประเทศชาติต่อไป

 

สำหรับข่วสาร และ บทความ ที่เกี่ยวข้องกับ ความยั่งยืน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

Related Articles