Wellness City โอกาสประเทศไทย ปีเสือทองคำ เทรนด์ไม่ใหม่ แต่มาแรง สวนกระแสโอมิครอน

Wellness City
Share

 

Wellness City โอกาสประเทศไทย ปีเสือทองคำ

เทรนด์ไม่ใหม่ แต่มาแรง สวนกระแสโอมิครอน

 

ในวิกฤตย่อมมีโอกาส ประเทศไทยหยุดนิ่งอยู่กับโควิด19 มาเกือบ 3 ปี เศรษฐกิจดิ่ง ขณะที่หลายๆ กิจการล้มหายตายจาก ทุกคนหันกลับมาใส่ใจสุขภาพ เว้นระยะห่าง ยกการ์ดสูง ไม่เพียงลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ยังลุกขึ้นมาฟิตแอนด์เฟิร์มสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยมีโซเชียลมีเดียเป็นแรงขับ ส่งผลให้ธุรกิจเวลเนสเติบโตอย่างรวดเร็ว

สถาบันโกลบอลเวลเนส (GWI) ทำวิจัยเศรษฐกิจด้านสุขภาพทั่วโลก (Global Wellness Economy) ปี 2563 พบว่า ธุรกิจเวลเนสซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ สาขาที่มีมูลค่าธุรกิจใหญ่สุดคือ ด้านการดูแลตัวเอง ความสวยงาม การชะลอวัย (Personal Care & Beauty) ราว 9.55 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ อันดับ 2 ด้านอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเป็นยา อาหารลดน้ำหนัก (Healthy Eating, Nutrition,&Weight Loss) อันดับ 3 ด้านการออกกำลังกายและกายภาพ (Physical Activity)

 

ที่น่าสนใจคือ อันดับ 4 ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ซึ่งมูลค่าอยู่ในอันดับ 4 คาดว่าในปี 2573 จะเติบโตเป็น 2 เท่า คือราว 1.59 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ จากปี 2563 ที่มีมูลค่า 4.36 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ

นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก (BDMS Wellness Clinic) บอกว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโตขึ้นร้อยละ 7-8 ต่อปี โดยมีการระบาดของโควิด 19 เป็นตัวแปรสำคัญ เมื่อเทียบค่าใช้จ่าย การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีค่าใช้จ่ายต่อหัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 53 กรณีของการเที่ยวในประเทศ ถ้าต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติร้อยละ 178

Wellness Tourism เป็นการเที่ยวแบบรูปแบบใหม่ใส่ใจสุขภาพ คือไปเที่ยวแบบกินอาหารสุขภาพ นอนสบาย มีสปา นวดสมุนไพร มีคอร์สโยคะ เที่ยวแบบเอาคุณภาพไม่เร่งรีบ เมื่อเจ็บป่วยได้รับการรักษาอย่างดี ฯลฯ แม้จ่ายสูงแต่ความเสี่ยงต่ำ ซึ่งต่างจาก Medical Tourism ซึ่งนักท่องเที่ยวป่วยแล้ว บินมารักษา”

ถ้าเราทำการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้ดี จะเป็นการช่วยประเทศในเชิงคุณภาพได้อีกมาก เมื่อคนเข้าน้อย ค่าใช้จ่ายต่อหัวมาก ประเทศจะช้ำน้อย สิ่งแวดล้อมจะพังน้อย ความเสี่ยงเรื่องโควิดไม่มาก คนมาเที่ยวจะเป็นคุณภาพ เกิดการจ้างงาน 5.3 แสนคน ฉะนั้นการท่องเที่ยวจะเปลี่ยนไป

นอกจาก 4 ด้าน 4 สาขาธุรกิจเวลเนสที่กล่าวมายังมี Wellness Real-Estate การทำอสังหาริมทรัพย์ที่เอื้อต่อสังคมผู้สูงอายุ Traditional Medicine ด้านสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการรักษา มูลค่าการตลาดที่ 3.6 ล้านเหรียญ Workplace Wellness มูลค่าการตลาด 4.8 ล้านล้านเหรียญ เป็นต้น

“กระแสขณะนี้กำลังมุ่งไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด ซึ่งโอกาสของประเทศไทยเยอะมาก เพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ เป็นเมืองท่องเที่ยว เราแค่ติดอาวุธ เราจะไม่เที่ยวเหมือนเดิมแล้ว เราจะเที่ยวแบบมีธีม อย่างมีหลักการ หรือเราจะเที่ยวแบบได้บุญด้วย กลับไปแล้วสุขภาพดี อยู่ที่การวางแผนแล้วลงมือทำ” นพ.ตนุพล กล่าวทิ้งท้าย

BDMS Wellness Clinic

Global Wellness Economy Report

rabbit2themoon

rabbit2themoon

คอลัมนิสต์หน้าไม่ใหม่ เคยพำนักอยู่ใต้ชายคามติชน ประจำกอง บก.นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ก่อนขยับมาเป็นผู้สื่อข่าวเซ็กชั่นประชาชื่น เขียนสัมภาษณ์บุคคล-สกู๊ปเชิงไลฟ์สไตล์-ท่องเที่ยว-อาหาร-จิปาถะ สถานะปัจจุบัน นอกจากเป็นคอลัมนิสต์ ยังเป็นนักเขียนอิสระ เขียนบทความเชิงประชาสัมพันธ์

Related Articles