“ กฎ 3D ”…ช่วยชะลอความเสื่อมไตวายเรื้อรัง

Share

 

หากมีอาการปัสสาวะขัดหรือลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ หลายคนอาจจะคิดถึงโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ แต่ทั้งนี้ทราบหรือไม่ว่านี่อาจเป็นสัญญาณเตือนสำคัญของไตวายเรื้อรัง ซึ่งไตวายเรื้อรังเปรียบได้เสมือนฆาตกรเงียบ เนื่องจากในช่วงแรกแทบไม่มีสัญญาณเตือนและอาการจะปรากฏชัดเจนในช่วงระยะท้าย เมื่อไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว  

พญ.เนสินี เก้าเอี้ยน แพทย์ชำนาญการ อายุรศาสตร์โรคไต โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
พญ.เนสินี เก้าเอี้ยน แพทย์ชำนาญการ อายุรศาสตร์โรคไต โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง

 

พญ.เนสินี เก้าเอี้ยน แพทย์ชำนาญการ อายุรศาสตร์โรคไต โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง กล่าวถึงความรู้เพื่อทำความรู้จักไตเบื้องต้นว่า คนเรามีไตสองข้างมีรูปร่างคล้ายถั่ว ตั้งอยู่ในตำแหน่งแถวใต้ชายโครงด้านหลัง บริเวณบั้นเอวทั้งสองข้าง และอยู่นอกช่องท้อง ไตสองข้างต่อกับท่อปัสสาวะและมาเปิดที่กระเพาะปัสสาวะ โดยที่ไตแต่ละข้างมีหน่วยไตข้างละ 1 ล้านหน่วย เสมือนรูกรองในเครื่องกรองน้ำ ไตมี 4 หน้าที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตปัสสาวะเพื่อกำจัดของเสีย การกำจัดสารพิษหรือยาบางชนิดออกจากร่างกาย  การสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือดแดง และวิตามินดีซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างกระดูก และมีหน้าที่ในการควบคุมความเป็นกรดด่างในเลือด ควบคุมความดันโลหิต สมดุลน้ำและเกลือแร่ ทราบหรือไม่โรคทางไตมี 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความผิดปกติของปัสสาวะแต่ไม่มีอาการแสดง กลุ่มโรคเนื้อไตอักเสบ กลุ่มโรคไตบวมน้ำ กลุ่มไตวายเฉียบพลัน และกลุ่มไตวายเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง คือภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่หลักอย่างต่อเนื่อง หรือมีการทำงานของไตน้อยลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งอาศัยค่าอัตราการกรองของเสียของไต ปัจจัยที่เกิดไตวายเรื้อรังมีหลายสาเหตุ แต่มักเกิดจากผลจากโรคแทรกซ้อนจาก โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็น  โรคนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยครั้ง ไตอักเสบ โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำในไต รวมถึงอาจเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAID) ยาปฏิชีวนะบางตัว  และสมุนไพร ปัญหาของไตวายเรื้อรังมักไม่มีสัญญาณเตือนความผิดปกติจะไม่แสดงจนกว่าการทำงานของไตจะลดลงเหลือ 1 ใน 4 ของการทำงานปกติ อาการที่สงสัยว่าเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ซีด ขาบวมเมื่อกดลงไปแล้วบุ๋ม คันตามตัว ปัสสาวะกลางคืนบ่อยครั้ง ปัสสาวะเป็นฟอง ปัสสาวะเป็นเลือด

พญ.เนสินี เก้าเอี้ยน แพทย์ชำนาญการ อายุรศาสตร์โรคไต โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง

สำหรับการวินิจฉัยภาวะไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีการตรวจพบโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ตรวจเลือดพบ การทำงานของไตลดลงต่อเนื่องนานเกิน 3 เดือน อัลตราซาวด์พบ ขนาดไตเล็กลง ระดับความรุนแรงของไตวายเรื้อรัง แบ่งตามอัตราการกรองของไต มี 5 ระยะ ดังต่อไปนี้ ระยะที่1 : อัตราการกรอง>90 ไตเริ่มผิดปกติ ระยะที่2 : อัตราการกรอง 6089 ไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น ระยะที่3 : อัตราการกรอง 3059 ไตเรื้อรังระยะปานกลาง ระยะที่4 : อัตราการกรอง 1529 ไตเรื้อรังระยะรุนแรง ระยะที่5 : อัตราการกรอง <15 ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย  

การรักษาไตวายเรื้อรังเนื่องจากความรุนแรงของไตวายเรื้อรังมีหลายระยะการรักษาจึงเป็นไปตามความรุนแรงในแต่ละระยะ ตั้งแต่การการรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไตไปถึงการรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต หรือการล้างไต ซึ่งจะเป็นการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 เท่านั้น 

แพทย์ชำนาญการ อายุรศาสตร์โรคไต รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง จึงแนะนำการชะลอความเสื่อมไตวายเรื้อรังสามารถทำได้ด้วย “กฎ 3D”  D Diet ได้แก่ คุมอาหารเค็ม โดยปริมาณโซเดียม ควรน้อยกว่า 2000 มิลลิกรัมต่อวัน คุม อาหารโปรตีนสูง ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพดีร่วมกับกรดอะมิโน ปริมาณตามคำแนะนำของแพทย์ รวมทั้งคุม อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง  D Drug ได้แก่ คุม ความดันโลหิตน้อยกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท คุม ระดับน้ำตาลในเลือดโดยมีเป้าหมายระดับน้ำตาลสะสม 6.5-7 % เช่นยากลุ่ม SGLT2 inhibitor คุม ระดับไขมันให้ระดับไขมัน LDL-C น้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร    อีกทั้งงดยาที่มีผลเสียต่อไต เช่น ยาแก้ปวดชนิด NSAIDs และยาสมุนไพร  D Do ได้แก่ คุม น้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม  คุม การออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์ และ งด การสูบบุหรี่ เพื่อลดการรั่วของโปรตีนไข่ขาวในปัสสาวะ “กฎ 3D” ร่วมกับการไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการชะลอความเสื่อมของไต 

 “Thonburi Bamrungmuang Hospital Disruptive Technology Live Healthier Live Longer 

innomatter

innomatter

ข่าวไอที นวัตกรรม พลังงาน และความยั่งยืน

Related Articles