หนอนน้อย ดุ๊กดิ๊ก ซุปเปอร์ฮีโร่พันธุ์ใหม่ ช่วยกู้โลกจากมลพิษได้

Share

 

หนอนน้อย ดุ๊กดิ๊ก ซุปเปอร์ฮีโร่พันธุ์ใหม่ ช่วยกู้โลกจากมลพิษได้

 

จากหนอนผีเสื้อตัวจิ๋ว สลัดคราบสู่บทบาทของฮีโร่ ซึ่งฮีโร่สายพันธุ์ใหม่นี้ เกิดขึ้นในปี 2560 เมื่อนักวิจัยค้นพบว่าหนอนผีเสื้ออาจช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วนที่สุดของโลก นั่นคือ ขยะพลาสติก

สิ่งมีชีวิตเหล่านี้สามารถกัดกินพลาสติก แม้กระทั่งโพลีเอทิลีนซึ่งเป็นพลาสติกทั่วไปและไม่สามารถย่อยสลายในธรรมชาติได้ และปัจจุบันขยะพลาสติกที่ว่ากำลังล้นสู่ทะเลและหลุมฝังกลบต่างๆ

ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าเจ้าหนอนตัวน้อยนี้สามารถทำเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร และที่มันทำอย่างนั้นได้เพราะมีแบคทีเรียในลำไส้หรือไมโครไบโอม (Microbiome) โดยผลวิจัยซึ่งมีการตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the Royal Society B Tuesday อาจเป็นแนวทางที่ตอบโจทย์ความพยายามในการค้นหาระบบย่อยสลายทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการกับขยะพลาสติกได้

“เราพบว่าหนอนผีเสื้อพันธุ์นี้มีจุลินทรีย์ในลำไส้ที่จำเป็นต่อกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพของพลาสติก” Christophe LeMoine รองศาสตราจารย์และประธานสาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยแบรนดอนในแคนาดากล่าว

“กระบวนการนี้ อาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างตัวหนอนและแบคทีเรียในลำไส้ของพวกมันเพื่อเร่งการสลายตัวของโพลีเอทิลีน”

นอกจากนั้นยังคาดว่ามีสัตว์อีกหลายชนิดที่มี Microbiome ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้มนุษย์มีสุขภาพที่แข็งแรงต่อไปได้เช่นกัน

แม้จะดูเป็นเรื่องที่ดี แต่อาจจะยังไม่ใช่วิธีแก้ไขอย่างจริงจังในตอนนี้

ในโลกของความเป็นจริง เจ้าหนอนตัวอ่อนของมอดถูกมองว่าเป็นแมลงศัตรูพืช เพราะตัวมันจะทำหน้าที่เสมือนเป็นปรสิตที่แฝงตัวอยู่ในรังผึ้งและคอยกินตัวอ่อนของผึ้งที่อยู่ในรัง

ความสามารถในการกินพลาสติกของมันถูกค้นพบโดยบังเอิญเมื่อคนเลี้ยงผึ้งมือสมัครเล่นในสเปนดึงแมลงศัตรูพืชบางส่วนออกจากรังและใส่ไว้ในถุงพลาสติก และพบว่าเจ้าหนอนตัวน้อยนั้นสามารถเจาะรูเล็กๆ ด้วยการเคี้ยวถุงพลาสติกได้รวดเร็วจนน่าตกใจ

Federica Bertocchini คนเลี้ยงผึ้ง ซึ่งมีอีกบทบาทคือการเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ Institute of Biomedicine and Biotechnology of Cantabria ได้รวบรวมผลการศึกษาเพื่อดูว่าแมลงตัวเล็กๆ เหล่านี้สามารถทำลายพลาสติกได้ดีแค่ไหน โดยทีมงานของเขาพบว่าหนอนด้วงสามารถทำลายถุงพลาสติกโพลีเอทิลีนได้เร็วกว่าวิธีอื่น

LeMoine กล่าวว่าการนำเอาหนอนด้วงนี้มาใช้ยังไม่ใช่วิธีแก้ปัญหามลพิษพลาสติกได้ในทันที แต่ยังต้องศึกษาอีกมากเพื่อทำความเข้าใจว่าหนอนผีเสื้อและจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารทำงานร่วมกันอย่างไรก่อนที่จะสามารถดัดแปลงและนำกระบวนการนี้มาทำซ้ำและขยายสู่วงกว้าง

เรื่องแรกก็คือการจัดการกับสารพิษที่อาจเกิดจากการขับถ่ายของหนอนเมื่อให้กินพลาสติก นอกจากนี้ แม้ว่าพวกเขาจะพบว่าแบคทีเรียในลำไส้บางชนิดสามารถอยู่รอดบนพลาสติกได้นานกว่าหนึ่งปี แต่พลาสติกก็จะใช้เวลาย่อยสลายนานกว่าเวลาที่ตัวอ่อนกินเข้าไป โดยชี้ว่าตัวหนอนมีบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้

“โดยหลักแล้ว Microbiome และตัวหนอนทำงานร่วมกันเพื่อย่อยสลายพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่จะใช้แบคทีเรียเพียงสายพันธุ์เดียว ทางที่ดีควรใช้ Microbiome หลายสายพันธุ์ทำงานร่วมกันเพื่อทำให้กระบวนการนี้ง่ายขึ้น” เขาอธิบาย

“แม้ว่าจะมีความคืบหน้าในการค้นหาองค์ประกอบหลักบางอย่าง แต่ก็ยังมีปริศนาอีกสองสามข้อที่ต้องแก้ก่อนที่จะนำวิธีนี้มาใช้ในการแก้ปัญหาพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางที่ดีที่สุด คือการช่วยกันลดขยะพลาสติกต่อไปจนกว่ากระบวนการเหล่านี้จะตอบโจทย์ทั้งหมดได้” เขาสรุปทิ้งท้าย

 

ข้อมูล: https://edition.cnn.com

ภาพ: https://www.roechling-stiftung.de

innomatter

innomatter

ข่าวไอที นวัตกรรม พลังงาน และความยั่งยืน

Related Articles