foodpanda ชวนลด “ขยะอาหาร” เนื่องในวัน World Food Day 2023 พร้อมแนะ 3 วิธีสุดสมาร์ตปรับพฤติกรรมง่าย ๆ เริ่มได้ทันที

Share

 

foodpanda ชวนคนไทยตระหนักรู้ถึงปัญหาขยะอาหาร (Food Waste) ในโอกาสวัน World Food Day 2023 วันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมา จึงชวนคนไทยปรับพฤติกรรมด้วย 3 วิธีสุด   สมาร์ท ที่ทำได้ง่าย ๆ และเริ่มได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น Shop Smarter, Cook Smarter และ Eat Smarter สู่เป้าหมายลดขยะอาหารที่เกิดขึ้นปีละ 1,300 ล้านตันทั่วโลก เพื่อลดผลกระทบที่เป็นหนึ่งในต้นเหตุของปัญหาโลกรวน (Climate Change) ให้ได้มากที่สุด พร้อมกับประกาศเตรียมเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ในแอปพลิเคชั่น foodpanda สำหรับสายรักษ์โลกที่เตรียมเปิดตัวเร็ว ๆ นี้

ปัญหา Climate Change ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่สิ่งไกลตัวคนไทยอีกต่อไปโดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศในอันดับ 9 ของโลกที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather Event) ระหว่างปี 2010-2019 จากการจัดอันดับของ Global Climate Risk Index ปี 2021 ที่ผ่านมา และหนึ่งในต้นเหตุสำคัญของ Climate Change ก็คือปัญหา “ขยะอาหาร” (Food Waste) ที่ทำให้เกิดการฝังกลบ กระบวนการที่ทำให้การเกิด ก๊าซมีเทน” ก๊าซอันตรายที่ทำลายโลกมากกว่า “คาร์บอนไดออกไซด์” หลายเท่าตัวดังนั้นการลดขยะอาหารจึงเป็นวิธีที่เร็วที่สุดที่สามารถทำได้เพื่อช่วยโลกของเรา

ข้อมูลจาก WWF (World Wide Fund for Nature) [1] ระบุว่ากระบวนการผลิตอาหารตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงจานอาหารของเรานั้นมีอาหารสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ที่ต้องกลายเป็นขยะอาหาร คิดเป็นน้ำหนักมากถึง 1,300 ล้านตันต่อปี ในขณะที่ประเทศไทยที่มีประชากร 66 ล้านคน แต่ละคนสร้างขยะอาหารกันปีละ 145 กิโลกรัมเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อลดปริมาณขยะอาหารลงให้ได้อย่างน้อย 50% ภายในปี 2030 ตามเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ (UN) คนไทยจะต้องลดปริมาณขยะอาหารลงให้เหลืออย่างน้อย 70-72 กิโลกรัมต่อคนต่อปี นั่นเป็นเหตุผลให้ foodpanda ออกมาชวนให้คนไทยช่วยกันลดขยะอาหารลงให้ได้มากที่สุดพร้อมกับแนะนำ 3 วิธีการที่สามารถทำได้ง่ายๆและเริ่มได้ทันทีดังต่อไปนี้

Shop Smarter – ซื้ออย่างไรไม่ให้เหลือทิ้ง

การวางแผนล่วงหน้าสำหรับอาหารแต่ละมื้อในอีก 2 – 3 วันข้างหน้า จะช่วยให้การซื้อของทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสที่จะมีของเหลือทิ้งลงได้มาก ลองจดบันทึกเก็บสถิติอาหารที่ใช้และอาหารที่ต้องทิ้งในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาดูก็จะทำให้รู้ว่าการไปซูเปอร์ครั้งต่อไปจะต้องซื้อแค่ไหนถึงจะพอดี และที่สำคัญไม่ต้องซื้อของเผื่อแบบทั้งอาทิตย์เพราะของสดส่วนใหญ่จะเสียภายใน 1 สัปดาห์เท่านั้น แต่หากจะต้อง “ซื้อเผื่อ” ก็เลือกของที่มีอายุยืนยาวเช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง หรือเนื้อที่สามารถเข้าช่องแช่แข็งได้เท่านั้น และที่สำคัญเราสามารถ Shop Smarter ได้ด้วยการใช้บริการ foodpanda สั่งวัตถุดิบเข้าไปทำอาหารได้อย่างพอดีผ่าน pandamart โดยไม่ต้องเดินทางไปซูเปอร์ด้วยตัวเอง

อีกวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ ก็คือการซื้อของเพื่อทำอาหารกับของที่เหลือในตู้เย็นเช่น กะหล่ำปลีครึ่งลูก หรือหมูสับที่เหลือจากมื้อก่อนเพื่อใช้ของที่เหลือให้มีคุณค่าสูงสุด ส่วนเวลาซื้อของที่ซูเปอร์หรือที่ตลาดลองเปลี่ยนความคิด เลือกของที่อาจจะดูหน้าตาไม่สวยแต่ให้คุณค่าทางโภชนาการเท่ากัน แถมยังมีราคาที่ถูกกว่า ก็ดูจะช่วยลดขยะอาหารลงได้มาก นอกจากนี้อย่าลืมทำความเข้าใจ “ฉลาก” ให้ดี เช่น วัน Best Before” ที่ไม่ใช่วันหมดอายุแต่หมายความว่าผู้ผลิตมองว่าหากพ้นวันนั้นไปแล้วอาหารจะไม่ได้อยู่ในสภาพที่ “ดีที่สุด” แต่ยังสามารถรับประทานได้อยู่ดังนั้นหากเก็บอาหารพ้นวัน Best Before ไปแล้ว 1-2 วันก็อย่างเพิ่งทิ้งเพราะยังสามารถนำมากินได้เป็นต้น

Cook Smarter – คิดก่อนทำใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า

เรื่องนี้เริ่มต้นได้ตั้งแต่การเก็บวัตถุดิบที่เราจะต้องเก็บให้ถูกวิธี เช่น ผักหรือผลไม้บางอย่างจะมีอายุยืนยาวกว่าถ้าไม่เก็บในตู้เย็น เช่น หัวหอม กล้วย หรือ มันเทศ นอกจากนี้การแช่แข็งเนื้อ หมู หรืออาหารทะเล ควรแยกแช่เป็นสัดส่วนแต่พอกิน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องละลายน้ำแข็งในส่วนที่เกินมาและทำให้อายุการเก็บรักษาสั้นลง

นอกจากนี้เรื่องพื้นฐานของการ Cook Smarter ที่แนะนำให้ทำ คือ การทำอาหารแต่พอกินให้อิ่มไม่เหลือทิ้ง และทำอาหารจากสิ่งที่เหลืออยู่ในตู้เย็นให้ได้มากที่สุด ผักผลไม้บางอย่างแม้จะดูไม่น่ากินแล้วยังสามารถนำไปใช้ทำอาหารหลาย ๆ อย่างได้ เช่น กล้วยที่สุกงอมจนเปลือกดำแล้วยังสามารถนำไปใช้ทำขนมหรือทำเค้กได้ หรือวัตถุดิบบางอย่างที่ปกติแล้วจะทิ้งก็สามารถนำมาทำเมนูอร่อย ๆ ได้ เช่น เปลือกแตงโมเชื่อม เปลือกส้มโอตากแห้ง หรือแม้แต่ หัวกุ้ง คางกุ้ง เปลือกกุ้ง ก็นำไปแปรรูปประกอบอาหารอีกหลายเมนูที่คาดไม่ถึงได้เช่นกัน

Eat Smarter – กินให้หมด เหลือแช่แข็ง แบ่งบริจาค

หากมีอาหารเหลือเยอะอย่ากลัวที่จะใส่ช่องแช่แข็งเพื่อเอาไว้กินในมื้อต่อไป อย่างไรก็ตามทุกอย่างไม่ได้เป็นอมตะเสมอไปเมื่ออยู่ในช่องแช่แข็ง ดังนั้นอย่าลืมแปะวันที่ที่เราแช่อาหารทุกอย่างเอาไว้เพื่อให้บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ในกรณีที่กินอาหารที่ร้านอาหารนึกเสมอว่าหากกินไม่หมด อย่าลืมขอใส่กล่องกลับบ้าน หรือถ้าอาหารเหลือเยอะมากๆโดยเฉพาะอาหารหรือของเบรกจากงานอีเวนท์ ทางเลือกในการบริจาคให้กับคนรายได้น้อยหรือขาดแคลนทุนทรัพย์ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน สำหรับ foodpanda เองก็มีวิธีการบริหารจัดการคลังสินค้าด้วยการบริจาคอาหารที่ยังมีคุณภาพดีให้กับผู้ด้อยโอกาส

ทั้ง 3 วิธีการนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆ และเริ่มต้นทำได้ทันทีเพื่อลดขยะอาหารที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกรวนอย่างทุกวันนี้ หรือถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นเมื่อไหร่ก็ใช้โอกาสเดือนตุลาคมนี้ ที่เพิ่งผ่านวัน  World Food Day 2023 ไปหมาด ๆ  โดยสามารถร่วมลงชื่อเข้าร่วมลดขยะอาหารในแคมเปญ SAVE 1/3” กับ WWF ได้ ที่นี่ หรืออย่างน้อยเริ่มต้นได้ด้วยการกดไม่รับช้อนส้อมทุกครั้งที่สั่งอาหารกับ foodpanda และเตรียมพบกับฟีเจอร์ใหม่ที่จะช่วยให้ทุกคนได้ช่วยโลกไปด้วยกันบนแอปฯ foodpanda เร็ว ๆ นี้

ติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมของ foodpanda ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/FoodpandaThailand เว็บไซต์ foodpanda.co.th และอินสตาแกรม https://www.instagram.com/foodpandathailand/

Related Articles