เจ้านายระบบดิจิทัล จ้างงานได้ AI ก็ไล่ออกได้เช่นกัน

Share

 

โปรแกรมซอฟต์แวร์ระบบอัตโนมัติ ช่วยคุณจ้างพนักงาน สอดส่องการทำงานได้ กำลังกลายเป็นที่นิยม เนื่องจากหลายบริษัทต้องวุ่นวายกับการบริหารคนทำงานจากระยะไกล และนั่งทำงานกันกระจัดกระจาย

 

การใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI รวมถึงแมชชีนเลิร์นนิ่ง กำลังเฟื่องฟู พอๆ กับที่ผู้บริหารและผู้จัดการหลายท่านต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริด อีกทั้งต้องวุ่นวายกับการควบคุมดูแลพนักงานจากระยะไกล

รายงานล่าสุดจากบริษัทวิจัย IDC คาดการณ์ว่าภายในปี 2024 บริษัท 80% ของ Global 2000 จะใช้ “ผู้จัดการในระบบดิจิทัล” ที่ควบคุมด้วยระบบ AI/ML เป็นผู้จ้างงาน ไล่ออก รวมถึงฝึกอบรมคนทำงานในสายงานต่างๆ โดยวัดผลจากการปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง แต่มีเพียง 1 ใน 5 บริษัทเท่านั้นที่จะได้รับคุณค่าที่แท้จริงจากการดำเนินงานแนวนี้โดยที่ไม่มีคนเข้ามาเกี่ยวข้องเลย

ไอดีซี ได้ให้ความเห็นว่า การก้าวสู่รูปแบบของการทำงานแบบกระจายศูนย์นั้น บริษัทต่างๆ ต้องเปลี่ยนวิธีการใหม่ในการบริหารจัดการ การนำทีม และจัดระเบียบองค์กรใหม่

จากการสำรวจในหัวข้อเกี่ยวกับการความยืดหยุ่นขององค์กรแห่งอนาคต และการใจ้จ่าย ที่ไอดีซีได้จัดทำในเดือนเมษายนปีที่ผ่านมา พบว่าประมาณ 41% ของบริษัทมองเห็นถึงศักยภาพในการบริหารจัดการทีมางานแบบไฮบริดและนั่งทำงานกันคนละที่ ว่าเป็นทักษะสำคัญในการจ้างหรือพัฒนาภายในองค์กร

ปัจจุบัน มีการนำซอฟต์แวร์การบริหารจัดการด้วยระบบดิจิทัล ที่ใช้ความสามารถของ AI/ML มาใช้สแกนประวัติในใบสมัคร และคัดเลือกผู้สมัคร รวมถึงกำหนดประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในแต่ละวัน รวมถึงเสนอแนะหลักสูตรการฝึกอบรมเพิ่มเติม อีกทั้งกำหนดว่าเมื่อไหร่ที่ต้องใช้พนักงาน และใช้กี่คน โดยเฉพาะงานที่ทำเป็นกะ

เอมี ลูมิส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของบริการด้านการวิจัยตลาด Future of Work ทั่วโลกของไอดีซี กล่าวว่า ในขณะที่มีการนำ AI/ML มาใช้ในกระบวนการจ้างงานและให้พนักงานออก อาจดูเป็นเรื่องน่าทึ่ง และมีการใช้แวดวง HR กันมากขึ้นในปัจจุบัน

ตัวอย่างของ องค์กรธุรกิจระดับโลกปัจจุบันที่เลือกใช้ AI ในการรับสมัครงาน คือ Amazon

ในทำนองเดียวกันนั้น ใน Amazon เองก็มีการเลือกใช้ระบบเลิกจ้างพนักงาน ด้วยซอฟต์แวร์ AI เช่นเดียวกัน โดยที่ในการส่งอีเมล์เลิกจ้างที่ส่งตรงถึงลูกจ้างนั้น มีเป็นล้านตำแหน่งเหมือนกันที่เป็นการทำงานโดยอัตโนมัติของ AI โดยที่ไม่ได้ผ่านการตรวจทานจากสายตามนุษย์เลย

ข้อมูลต้นเรื่องจาก Computerworld USA

Related Articles