เจาะกลยุทธด้าน AI ของยักษ์ไอทีที่รวยที่สุดในโลก กับ Siri ที่กำลังถูกด้อยค่า

Apple กับเรื่องของ AI ที่ดูเหมือนว่ายักษ์ไอทีกลุ่มลูกค้าทั่วไปนั้นจากคนเริ่มยุคแรก กลับล้าหลังสุดวันนี้ พร้อมเปิดอนาคตของ Siri ที่ถูกด้อยค่า
Share

 

Apple ถือเป็นยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีซึ่งเป็นที่รู้จักในด้านการออกแบบ เทคโนโลยีล้ำสมัย และผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคที่เป็นนวัตกรรมใหม่ แต่เมื่อพูดถึง Siri ปัญญาประดิษฐ์ที่มาก่อนใคร วันนี้ กลับโดนไล่ให้ไปต่อแถวใหม่

 

หลายบริษัท อย่าง Google และ Microsoft ต่างลงทุนใน OpenAI หนึ่งในความก้าวหน้าอันน่าทึ่งของอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ แต่ดูเหมือนว่า แอปเปิ้ล  คล้ายกำลังถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เกิดอะไรขึ้นกับยักษ์ใหญ่ผู้หลับไหลนี้

Siri เป็นที่รู้จักโด่งดังในความแสนรู้เจื้อยแจ้วช่างเจรจาตั้งแต่ปี 2554 นั่นคือเมื่อ 12 ปีที่แล้ว และได้รับการยกย่องว่าเป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI เพราะในวันนั้นมันคือหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามาก แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะไม่สามารถเปล่งแสงได้เหมือนเมื่อก่อน โดยเฉพาะเมื่อถูกจับมาเทียบกับความฉลาดแสนรู้ของ Google และ ณ ปัจจุบัน จนทำให้วันนี้ Siri คล้ายจะถูกด้อยค่าจากผู้ใช้งานไปโดยปริยาย

หนึ่งในข้อจำกัดใหญ่ที่สุดของ Siri คือขาดความสามารถในการประมวลผลด้วยภาษาธรรมชาติ หรือภาษาพูดของมนุษย์ ระบบไม่สามารถทำความเข้าใจบริบทของการสนทนาหรือการเรียกใช้งานที่ซับซ้อนได้ เรียกว่าทำได้แต่งานง่ายๆ เท่านั้น เช่น การเปิดหรือปิดแอปที่ใช้ถามตอบง่ายๆ ตั้งเตือนหรือจับเวลา ฯลฯ แม้จะผ่านมาหลายปีแล้ว การขอให้ Siri ตอบคำถามให้ถูกต้องหรือเขียนตามคำบอกแล้วส่งไปยังบุคคลที่ถูกต้องก็เป็นเรื่องที่อาจจะยังทำไม่ดีเท่าไหร่

Siri an Apple voice assistant

แตกต่างจากทั้ง Google Assistant และ ChatGPT ของ OpenAI (ซึ่งตอนนี้ได้มีการผนวกเข้ากับ Microsoft Bing และแอปอีกหลายตัวของทาง Microsoft) ที่ถือว่ามีพัฒนาการล้ำหน้าในเรื่องของการประมวลผลด้วยภาษาธรรมชาติ หรือภาษาพูดปกติ ที่ทำให้ทั้งสองระบบนั้นเข้าใจในภาษามนุษย์และตอบโต้ในคำสั่งได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์แบบ

ตัวอย่างเช่น เมื่อขอให้ Bing Chat บอกสิ่งที่ Siri ทำไม่ได้ Bing ก็จะหยิบยกเรื่องต่างๆ อย่าง การสรุปสถานการณ์ทางการเมืองที่ซับซ้อนหรือการทำงานร่วมกับเครื่องมือค้นหาอื่นๆ เช่น DuckDuckGo ที่ Siri อาจจะยังทำไม่ได้

เมื่อถามว่า Siri สามารถทำอะไรที่ Bing Chat ทำไม่ได้ คำตอบที่ได้กลับกลายเป็นการให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีเปิดใช้ Bing โดยพูดว่า “เปิด Bing”  แต่ปัญหาคือ Bing ไม่สามารถเปิดแอปบน iPhone ได้ ทำให้ออกทะเลไปกันใหญ่

สิ่งที่ Siri ยังขาด ก็คือความสามารถในการเชื่อมการใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันอื่น ทุกวันนี้มันยังคงทำงานได้เฉพาะบนระบบแวดล้อมแบบปิดเท่านั้น ในขณะที่ Google Assistant และ ChatGPT นั้นสามารถเชื่อมการทำงานกับแอปพลิเคชันได้มากมายหลากหลายแบบ ทำให้ทั้งสองสามารถโชว์ประสิทธิภาพการทำงานได้โดดเด่นกว่านั่นเอง

ด้วยระบบแวดล้อมเป็นระบบปิด ทำให้การเข้าถึงข้อมูลของ Siri ก็ถูกจำกัดไปด้วย ทำให้ขาดข้อมูลที่จะช่วยให้ระบบเรียนรู้และปรับปรุงได้ยากเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่องต้องการข้อมูลจำนวนมากในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และในขณะที่ผู้คนอาจเคยตั้งคำถามในเรื่องของจริยธรรมของวิธีที่ Google และ OpenAI นำข้อมูลของผู้คนมาใช้ในการฝึกอบรมโมเดล AI ของตัวเอง แต่ก็ต้องยอมรับว่าการเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลช่วยปรับปรุงความสามารถของ AI ได้อย่างต่อเนื่อง

ยิ่งกว่านั้นการที่ตัวบริษัทเองเปิดรับเทคโนโลยีระบบเปิดค่อนข้างช้าซึ่งถือว่าจำเป็นต่อการวิจัยและพัฒนา AI เพราะเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สช่วยให้นักพัฒนาสามารถทำงานร่วมกันและมีส่วนร่วมในโครงการที่นำไปสู่วงจรการพัฒนาได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบ ทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสีย เพราะอย่าลืมว่า แอปเปิ้ล ถือเป็นองค์กรที่ขึ้นชื่อเรื่อง รักษาความลับ ได้ดีมาอย่างยาวนาน ซึ่งรวมถึงเรื่องของ AI ที่ไม่เคยมีข่าวว่าบริษัทกำลังทำวิจัยเรื่องนี้มาหลายปี แต่เรื่องนี้ก็เปลี่ยนไปตั้งแต่ปี 2015 เพราะบริษัทได้ออกมาเผยแพร่รายงานการวิจัยเรื่อง AI โดยวันนี้ทุกคนสามารถเข้าถึงเอกสารความหนา 370 หน้าที่แชร์อยู่ในเว็บไซต์ที่ถูกเผยแพร่ในปี 2017 ถึงกระนั้นเมื่อเทียบกับ Google ผู้ซึ่งมีเอี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีแบบโอเนซอร์สมาตลอดนั้น พบว่าทุกปีจะมีเอกสารนำออกเผยแพร่จำนวนหลายร้อยฉบับ

ความจริง แอปเปิ้ล มีส่วนร่วมในชุมชนอย่าง Hugging Face ซึ่งเป็นพื้นที่ที่นักวิจัย AI เข้ามาแบ่งปันโมเดลที่ใช้ในการฝึกแอป AI แต่การเข้าร่วมก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างน้อย เพราะมีโมเดลที่แชร์เข้ามาเพียง 11 โมเดลเทียบกับ 245 โมเดลจาก Microsoft และ 587 โมเดลจากฝั่ง Google

และการมีส่วนร่วมส่วนใหญ่ในโครงการโอเพ่นซอร์ส AI ใหญ่ๆ รวมถึง TensorFlow (โครงการที่มาจาก Google) และ PyTorch (ที่มาจาก Facebook) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับแต่งให้นักพัฒนารันเทคโนโลยีเหล่านี้บน Mac แม้ว่าจะเป็นประโยชน์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการขาย Mac ให้กับนักพัฒนา AI) แต่ก็ไม่เหมือนกับที่แบ่งปันกันบนชุมชนออนไลน์อย่าง kumbaya ในปัจจุบัน

เมื่อสัญญาณของ Siri เริ่มดูซบเซา แถมคล้ายว่าจะโดนโดดเดี่ยวจากตัวบริษัทเอง จุดนี้ วิศวกรของ แอปเปิ้ล บางคนก็ได้ลาออกจากบริษัทโดยมุ่งหวังว่าจะได้ทำงานกับโมเดลภาษามนุษย์ที่ใหญ่กว่า โดยเฉพาะระบบที่ใช้ OpenAI เป็นพื้นฐาน ข้อมูลนี้ได้จากรายงานข่าวเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

มีนักวิเคราะห์รายหนึ่งได้ออกมาให้ข้อเสนอแนะแก่ Apple ในฐานะนักวิเคราะห์เทคโนโลยีที่มีประสบการณ์เกือบสามทศวรรษ   โดยแบ่งออกเป็น 3 ข้อดังนี้

  1. ต้องรีบขยายความสามารถของ Siri ให้เก่งกว่าแค่การรับคำสั่งพื้นฐานทั่วไป โดย Apple ควรจะต้องลงทุนทั้งแรงกายแรงเงินมากกว่านี้เพื่อช่วยให้ Siri ทำงานได้ซับซ้อนยิ่งขึ้น อย่างเช่นการลงเวลานัดหมาย จองสถานที่ต่างๆ หรือสั่งอาหาร
  2. ปรับปรุงระบบประมวลผลภาษาธรรมชาติของ Siri เพราะในส่วนนี้หากเทียบกับระบบของ Google Assistant หรือ ChatGPT ถือว่าล้าหลังกว่ามาก Apple ต้องลงทุนในการปรับปรุงความสามารถของ Siri ให้สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานทางระบบสั่งงานด้วยเสียงได้ง่ายขึ้น
  3. ต้องเปิดแพลตฟอร์มของ Siri สู่สาธารณะ ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรจะทำมาแล้วหลายปีในการเปิดให้ซอฟต์แวร์จากภายนอกเชื่อมต่อกับระบบของ Siri ได้ เพื่อให้มันสามารถทำงานได้เกิดประโยชน์มากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการช่วยสอนให้ Siri เก่งขึ้นไปในตัว การเปิดแพลตฟอร์มของ Siri นั้นยังเป็นการกระตุ้นให้นักพัฒนาสร้างแอพพลิเคชั่นที่เป็นนวัตกรรมและมีความซับซ้อนได้มากขึ้น โดยใช้ความสามารถในการจดจำเสียงของ Siri และความสามารถในการประมวลผลด้วยภาษาธรรมชาติ

แหล่งข่าววงในไม่เปิดเผยให้ข้อมูลว่า Apple กำลังดำเนินการทั้งหมดข้างต้น และกำลังวางแผนที่จะปล่อย Siri ที่ได้รับการปรับโฉม แต่งองค์ทรงเครื่องใหม่ใน iOS เวอร์ชันที่จะเปิดตัวในอีกไม่นาน ซึ่งทุกคนกำลังจับตามองว่าจะมีความชัดเจนของเรื่องนี้ ให้ได้เห็นกันในงาน Worldwide Developers Conference ที่ Apple กำลังจะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้หรือไม่

 

แต่สำหรับตอนนี้ Siri ที่อยู่ใน iPhone และอุปกรณ์ Apple ทุกชิ้นก็ยังคงเป็นคนเดิมที่พบเจอกันมานาน หากต้องการ AI ที่เก่งกว่านี้ ก็ให้หาทางเลือกอื่นไปก่อน

เรียบเรียงจากบทความอ้างอิง Apple’s AI strategies, especially for Siri, aren’t very smart : BusinessInsider.com

 

Related Articles