Schneider Electric เดินเกมนำหน้าคู่แข่ง นำ Digital Service เน้นประสิทธิภาพและความยั่งยืน

Digital Service โจทย์ครั้งใหม่สำหรับงานดูแลระบบไฟฟ้าโรงงาน Schneider Electric มองเห็นความต้องการ จับเตรียมให้บริการเต็มสูบในประเทศไทย
Share

 

พลังจาก IoT ร่วมกับ AI อัจฉริยะ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้ระบบไฟฟ้า คาดการณ์แนวโน้มการทำงานของอุปกรณ์พร้อมแจ้งเตือนความล้มเหลวของอุปกรณ์ล่วงหน้า ช่วยลดดาวน์ไทม์ ยืดอายุของอุปกรณ์ไฟฟ้า

 

ในยุคที่เทคโนโลยีเติบโตอย่างก้าวกระโดดดิจิทัลถูกนำมาใช้ในการทรานส์ฟอร์มและยกระดับธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่ค้าปลีกไปจนถึงภาคอุตสาหกรรม Schneider Electric ในฐานะผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ด้านการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชัน ได้คิดค้นนวัตกรรมในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัลในทุกแง่มุมและทุกกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างไม่เคยหยุดนิ่ง ดิจิทัลเหมือนเป็นโลกใหม่ที่ช่วยปฏิวัติโลกเก่าให้ดียิ่งขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความยั่งยืน อีกทั้งการควบคุมด้วยดิจิทัลยังช่วยทำให้มองเห็นสถาปัตยกรรมระบบต่างๆ ทั้งในภาพรวม ผ่านซอฟต์แวร์ ช่วยลดความยุ่งยาก และลดเวลาในการทำงานซ้ำซ้อน เพื่อเอาเวลาที่มีค่าไปโฟกัสเรื่องที่สำคัญกว่าแทน

Digital Service บริการใหม่บนพื้นฐาน AI และ IoT

นายวราชัย จตุรสถาพร รองประธาน ธุรกิจ Field Services ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา เผยว่า “การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล ไม่จำเป็นต้องทำทีเดียว สามารถทำเท่าที่จำเป็นเพื่อที่ธุรกิจจะสามารถวัด ROI ได้ (Return on Investment) ด้วยเทคโนโลยี EcoStruxure ที่เป็นทั้งสถาปัตยกรรมและแพลตฟอร์ม ระบบเปิด

ด้วยความสามารถทางด้าน IoT และ AI จึงทำให้บริการดิจิทัลเซอร์วิสของเรามีความครอบคลุมที่สุด สะท้อนถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ในการเป็นผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ช่วยสร้างความยืดหยุ่น และแก้ไขปัญหาของลูกค้า รวมถึงธุรกิจลูกค้าในอนาคตได้ นอกเหนือจากบริการภาคสนามแบบปกติ และทางชไนเดอร์ยังมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลในเรื่องของการวิเคราะห์ ที่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

รวมไปถึงเรื่องของความปลอดภัยทั้งในส่วนของสินทรัพย์ต่างๆ และบุคคล ช่วยปรับเปลี่ยนจากการบำรุงรักษาตามเวลาที่กำหนด หรือแบบไทม์เบส ซึ่งต้องชัตดาวน์ระบบทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจ มาเป็นคอนดิชั่นเบส ทำให้เกิดการลดต้นทุนด้านการซ่อมบำรุง และต้นทุนการสูญเสียในการหยุดสายการผลิตต่างๆ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพด้านการดำเนินงาน รวมถึงสร้างความยั่งยืนได้อีกด้วย”

EcoStruxure โซลูชันรวบครบจบตามโจทย์ Digital Service

ดิจิทัลเซอร์วิสของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นมิติใหม่แห่งการบริการด้านการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ไม่ใช่เพียงแค่บริการภาคสนามเพียงอย่างเดียว ยังมีการผนวกบริการดิจิทัล ด้วย EcoStruxure ที่ให้ศักยภาพด้าน IOT และใช้ AI มาช่วยในการวิเคราะห์ มีการบริการที่โดดเด่นได้แก่

EcoStruxure โซลูชันรวบครบจบตามโจทย์ Digital Service

EcoStruxure Service Plans มิติใหม่แห่งการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าด้วยบริการดิจิทัลตลอดอายุสัญญา ที่ให้บริการครอบคลุมถึงระบบ IoT ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์ และปรับปรุงอุปกรณ์ที่ลูกค้ามีอยู่ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการทรานส์ฟอร์มระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ด้วยซอฟต์แวร์ ระบบวิเคราะห์ และอุปกรณ์เชื่อมต่อกับดิจิทัล ช่วยลดความเสี่ยงจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ลดกิจกรรมด้านการบํารุงรักษา ลดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการเอง ลดเวลาขัดข้องที่ไม่ได้วางแผนไว้ตลอดจนยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และสินทรัพย์

EcoStruxure Asset Advisor ช่วยเสนอแนวทางในการจ่ายไฟฟ้าและการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ประเมินผลข้อมูลแบบเรียลไทม์จากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อ ใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อระบุภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ให้ความสามารถในการคาดการณ์และแก้ไขปัญหาก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น ลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย หลีกเลี่ยงการหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผน ความสูญเสียจากการปฏิบัติงาน และการบำรุงรักษาที่มีราคาแพง ซึ่งลูกค้าหรือผู้ใช้งานสามารถดำเนินการด้วยตนเองอีกทั้งยังสามารถใช้บริการ Service Bureau ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่คอยดูแลและให้บริการตลอด 24×7

โดยบริการดิจิทัลของชไนเดอร์ อิเล็คทริค มี 2 แพคเกจหลัก ได้แก่

Preventive Services เป็นการบริการเชิงป้องกัน ดูเทรนด์ของระบบ สามารถตรวจสอบได้ ช่วยให้มองเห็นภาพรวมและสถานะของอุปกรณ์ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในแบบเรียลไทม์ พร้อมการแจ้งเตือนอัจฉริยะเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ นอกจากนี้ตลอดแพ็คเกจการใช้งานจะมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในระบบตลอด 24 ชม. พร้อมกับการรายงานให้แบบรายเดือน

Predictive Services เป็นการบริการเชิงคาดการณ์ ได้รับบริการพื้นฐานเหมือนกับ Preventive Services แต่จะมีความแตกต่าง อาทิ เช่น การรายงานข้อมูล ‘เชิงลึก’ แบบกำหนดเองได้ มีทีมงานช่วยดูแลและให้คำปรึกษาพร้อมการแจ้งเตือน ‘โดยตรง’ ตลอด 24 ชั่วโมง และการคาดการแนวโน้มการซ่อมบำรุงในส่วนต่างๆ ทำให้ลดการเกิดดาวน์ไทม์ หรือเหตุขัดข้องโดยไม่ได้เตรียมการล่วงหน้าได้ โดยผู้ใช้งานจะได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้า ทำให้สามารถรับมือกับปัญหาได้ทันท่วงที หรือก่อนที่จะเกิดเหตุ พร้อมทั้งช่วยให้สามารถรู้ และแจ้งเตือน ช่วงเวลาในการซ่อมบำรุงของอุปกรณ์ต่างๆ ได้เมื่อถึงเวลา หรือใกล้เสื่อมประสิทธิภาพ และเมื่อใกล้หมดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์

“การเปลี่ยนระบบไฟฟ้าให้เป็นดิจิทัล เป็นการแก้ปัญหาความท้าทายของระบบไฟฟ้าในอดีต ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ โดยเฉพาะการดาวน์ไทม์ที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว เนื่องจากการเสื่อมของอุปกรณ์ที่มีอยู่ หรือจากปัจจัยสภาวะแวดล้อมต่างๆ เมื่อเปลี่ยนเป็นดิจิทัลแล้ว ทำให้สามารถเข้าถึงและมองเห็นภาพรวมทั้งหมดของระบบไฟฟ้า รวมถึงประสิทธิภาพ ในแบบเรียลไทม์ และย้อนหลังได้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ คาดการณ์แนวโน้มของระบบได้อย่างมั่นใจ” นายวราชัย กล่าวทิ้งท้าย

 

สำหรับท่านผู้อ่านที่ติดตาม ข่าวสาร และ บทความ ทางด้านความก้าวหน้า เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรมการผลิต สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

innomatter

innomatter

ข่าวไอที นวัตกรรม พลังงาน และความยั่งยืน

Related Articles