EU ประกาศแบนรถยนต์ใช้น้ำมัน ภายในปี 2035 เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไร แล้วไทยจะเอายังไง

Share

 

ฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐสภายุโรป (European Parliament) ได้โหวตผ่านร่างพระราชบัญญัติด้วยคะแนน 339 ต่อ 249 เสียง ให้แบนการจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป

 

ร่างพระราชบัญญัตินี้มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ 100% ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศ แปลว่ารถที่มีเครื่องยนต์ไม่ว่าจะเป็นเบนซิน, ดีเซล หรือไฮบริดทุกชนิด ก็ต้องหยุดขายทั้งหมด

อ่านดูแค่นี้แล้ว ฝ่ายเชียร์รถยนต์ไฟฟ้า คงป่าวประกาศเฮโลกันใหญ่ แต่อีกฝ่ายก็ยังค้านหัวชนฝากันอยู่ว่า มันยังไม่ถึงเวลาที่จะห้านการขายรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเดียว นี่เฉพาะกับที่ยุโรป ทวีปที่มีความพร้อมค่อนข้างจะดี ก็ยังมีอีกหลายประเทศและหลายสังคัมที่ยังมอง หรือยังไม่ค่อยเข้าใจในตัว รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแท้จริง

แต่หากมองในบางประเทศที่ได้ประกาศความชัดเจน ในเรื่องของการแบนรถยนต์สันดาปภายในหรือ รถยนต์ใช้นำมันไปแล้ว อย่าง นอร์เวย์ ได้ประกาศแล้วว่า 2025 นั้น รถยนต์ที่ผลิตและที่ใช้งานในประเทศ ต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น หรืออังกฤษ ประกาศสั่งงห้านการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันทั้งเบนซินและดีเซลนั้นในปี 2040

ส่วนประเทศไทยนั้น กำลังศึกษาว่าจะกำหนดให้เงื่อนเวลาแบบเดียวกันนั้น 2035 น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม (สำหรับใครยังกำลังคุยกันอยู่)

เรียกว่า วันนี้โลกกำลังเดินหน้าไปสู่โลกของ รถยนต์ไฟฟ้า เร็วกว่าแต่ก่อน

กลับมาที่ สภานิติบัญญัติของรัฐสภายุโรป ยังรับรองการลด CO2 จากรถยนต์ลง 55% ในปี 2573 เมื่อเทียบกับปี 2564 การเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้ภาระผูกพันที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์มีมากขึ้นในการลดการปล่อย CO2 โดยเฉลี่ย 37.5% ณ สิ้นทศวรรษเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ก่อนหน้านี้ EU ระบุว่า CO2 ที่ถูกสร้างขึ้นในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 27 ประเทศ 12% นั้นถูกสร้างจากรถยนต์ โดยที่ส่วนของการขนส่งเป็นเพียงหนึ่งในสี่

ก่อนหน้านี้ EU มีการกำหนดมาตรฐานมลพิษของยานยนต์ หรือ Euro emissions standards ที่ถูกตั้งมาตั้งแต่ 1970 โดยมาตรฐานมลพิษของยุโรปนั้นดูจะเป็นมาตรฐานที่มีความเข้มข้นเกือบที่สุดในโลก (ในแง่ของมาตรฐานกลางของแต่ละทวีป) โดยที่ปัจจุบันมาตรฐาน EURO นั้นอยู่ที่ EURO6 โดยที่เกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องปริมาณการปล่อยไอเสียและมาตรฐานน้ำมันที่ใช้เติมเข้าไป

มาตรฐานอย่าง EURO นั้นดูจะเป็นมาตรฐานที่ค่อนข้างเข้มข้นมาก จนทำให้เกิดปัญหาการบิดเบือนข้อมูลมลพิษที่โด่งดังไปทั่วโลก ทั้งกรณี Diesel Gates ของเครือ Volkswagen Group ในการแอบปรับระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมให้ทำงานในฟังก์ชันพิเศษในขณะที่นำเอารถยนต์เครื่องดีเซลเข้าทดสอบ แต่ในรถยนต์ที่ขายจริงนั้นปล่อยค่ามลพิษที่เกินกว่าค่าที่ตรวจสอบได้จริง

โดยเรื่องของการ ปลอม ตัวเลขค่ามลพิษนั้นไม่ได้เกิดกับบริษัทเดียว จากการสืบสวนในช่วงนั้นพบว่ามีหลายบริษัทต้องสงสัยการกระทำดังกล่าว แต่ไม่สามารถหาหลักฐานได้แบบชัดเจนเหมือนอย่างที่ Volkswagen ทำ อีกบริษัทหนึ่งที่พบก็คือ Mitsubishi Motors ที่แอบปลอมค่ามลพิษในกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็ก

Photo: © Zdenek Sasek / Shutterstock.com

EURO7 มาตรฐานมลพิษที่ใครๆ ก็บอกว่าทำยาก

ในปี 2025 นี้ ในสหภาพยุโรปกำลังจะประกาศอัพเดตมาตรฐานมลพิษใหม่อย่าง EURO7 และเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกจับตามองอย่างมากๆ เพราะหากเรามองในรายละเอียดนั้นคือการพยายามลดปริมาณมลพิษที่ปล่อยออกทางปลายท่อไอเสีย โดยมาตรฐานนั้นอย่างที่ทราบจะมีการกำหนดทั้งในเรื่องเครื่องยนต์และน้ำมันที่นำมาใช้ และที่สำคัญ EURO7 น่าจะเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศในมาตรฐานของการนำเอาระบบขับเคลื่อนแบบไฟฟ้าเข้ามาร่วมด้วย

เพราะดูจากความเป็นไปได้ในโลกเทคโนโลยีตอนนี้ หากยังต้องอาศัยเครื่องยนต์แบบสันดาปภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานใหม่ได้ ต้องมีการผสมผสานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์สันดาปที่พัฒนาในด้านประสิทธิภาพ การใช้พลังงานและที่สำคัญคือปล่อยมลพิษที่น้อยลง แต่ถ้าจะให้ถึงระดับตัวเลขที่คาดว่าจะ โหด กว่าเดิมที่ตอนนี้มีภายในสหภาพยุโรปเท่านั้นที่ใกล้เคียง

ตัวอย่าง ตัวเลขการปล่อยมลพิษตามมาตรฐาน EURO6 ในรถเครื่องยนต์เบนซิน

CO (carbon monoxide) : 1.0g/km
THC: 0.10g/km
NMHC: 0.068g/km
NOx (nitrogen oxides) : 0.06g/km
PM: 0.005g/km (direct injection only)

สำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล

CO: 0.50g/km
HC (hydrocarbons) + NOx: 0.17g/km
NOx: 0.08g/km
PM: 0.005g/km

เห็นตัวเลขแบบนี้ คงเฉยๆ ลองเอามาตรฐาน EURO5 ที่บ้านเราใช้กันไปเทียบ

สำหรับ รถเครื่องยนต์เบนซิน

CO: 1.0g/km
THC: 0.10g/km
NMHC: 0.068g/km
NOx: 0.06g/km
PM: 0.005g/km (direct injection only)

สำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล

CO: 0.50g/km
HC + NOx: 0.23g/km
NOx: 0.18g/km
PM: 0.005g/km

เมื่อลองพิจารณาดู ค่ามลพิษ ของทั้งมองมาตรฐาน บางตัวก็ไม่ได้ถูกขยับเรียกว่าเท่าเดิมด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่สำนักงานมาตรฐานนั้นให้ความสำคัญ ณ ตอนนั้นก็คือ NOx หรือไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซพิษ มีผลต่อร่างกายมนุษย์ เพราะอย่างนั้นการเปลี่ยนแปลงหรืออัพเดตของมาตรฐานนั้น ส่วนใหญ่ก็ลดในส่วนที่กระทบต่อ สุขภาพ ของคนในสังคมโดยรวม

บริษัทรถยนต์ยุโรป ชั้นนำ รู้แล้วปรับแล้ว

การเปลี่ยนถ่ายสู่ EURO7 ในสหภาพยุโรปนั้น แม้ว่าวันนี้รายละเอียดเชิงเทคนิคนั้นยังไม่ได้ถูกตีพิมพ์อย่างเป็นทางการ แต่สำหรับบริษัทผู้ผลิตยานยนต์แบรนด์ต่างๆ นั้นก็เริ่มมองเห็นแล้วว่า ตัวเลขทางเทคนิคที่พวกเขาจะต้องไปให้ถึงบนมาตรฐานใหม่นั้นอยู่ที่ประมาณตรงไหน

แล้วถามว่าการปรับตัวของบริษัทเหล่านี้เขาทำอย่างไรกัน สิ่งที่บริษัทเหล่านี้รับมือนั้นพวกเราเห็นมาเกือบ 10 ปีแล้วก็คือการเข้ามาของรถไฮบริดแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Mild Hybrid, Full Hybrid, Plug-in Hybrid เรียกง่ายๆ ก็คือการนำเอาระบบมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาช่วยลดภาระไม่ต้องให้เครื่องยนต์นั้นออกแรงมากเกินไป เมื่อออกแรงน้อยนั่นก็หมายถึงผลิตมลพิษออกมาน้อยเช่นเดียวกัน

นั่นหมายความว่า ณ ตอนนี้ ถ้าเป็นไปตามกำหนด 2025 หรืออีก 3 ปี EURO7 ประกาศออกใช้ 27 ประเทศในยุโรปนั้นก็ไม่ได้แตกตื่นตกใจอะไรมากนัก เพราะฝ่ายบริษัทรถยนต์ก็พร้อมมีสินค้าที่จะขายอยู่แล้ว อาจจะต้องยกเลิกสินค้าบางรุ่นที่ไม่ผ่านมาตรฐานออกไปบ้าง แต่รวมๆ แล้วตลาดในยุโรปนั้นไม่ได้มีอะไรหวือหวามากอยู่แล้ว

ที่น่ากังวลมากที่สุดคือ ตลาดกำลังพัฒนา อย่างประเทศไทยนี่แหละ เราเองแม้ไม่ได้ถูกประกาศการขยับมาตรฐานมลพิษให้เข้มขึ้นเหมือนอย่างในยุโรป แต่ที่ผ่านมาในตลาดรถยนต์ระดับบนที่มีราคาสูงถึงสูงมากๆ นั้น ถูกผลักดันให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานแบบกลายๆ เพราะสินค้าที่นำเข้ามาขายนั้นส่วนใหญ่ก็ยกเวอร์ชั่นอัดเทคโนโลยีรุ่นใหม่มาครบ เพียงแต่ปรับให้ไม่ได้ควบคุมสภาพการปล่อยมลภาวะที่เข้มงวดเหมือนอย่างในยุโรป

10 ปี หลัง EURO7 ยุโรปชัดรถใหม่ที่ขายต้องเป็น EV

น่าตกใจ!!! ที่มีการเสนอให้ประเทศไทย กำหนดเป้าหมายให้เหมือนตลาดในยุโรป กล้าจริงๆ แต่ก็ดีกว่าไม่คิดอะไรเสียเลย

เอาเข้าจริง หลายผู้เชี่ยวชาญในวงการรถยนต์นั้นให้ทัศนะว่า พูดถึง EURO7 ในปี 2025 คือประกาศให้ทุกคนเตรียมพร้อมในการอ้าแขนรับ รถยนต์ไฟฟ้า 100% แม้ว่าในวันที่มันถูกคิดก็ยังไม่มีใครแน่ใจหลอกว่า “วันนี้ที่รอคอย” จะมาถึงเร็วขนาดนี้ แต่การกำหนดแล้วว่า 2035 คือปีที่รถยนต์ที่ถูก “นำมาขาย” ในสหภาพยุโรปนั้น จะต้องเป็น EV หรือรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด

การประกาศของ สภาสหภาพยุโรป ครั้งนี้ จึงไม่น่าเป็นที่แปลกใจ เสียเท่าไหร่

สำหรับ ประเทศไทย มีตัวเลขที่พูดถึงและพยายามผลักดัน นโยบายแบบเดียวกัน โดยที่เสนอกันไว้ที่ช่วงเวลาเดียวกัน

innomatter

innomatter

ข่าวไอที นวัตกรรม พลังงาน และความยั่งยืน

Related Articles