ความยั่งยืนด้วยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ อีกหนึ่งทางที่ธุรกิจการเงินมีส่วนร่วมได้

Sustainability with Technology ความยั่งยืนที่วันนี้โลกทั้งใบกำลังเรียกหา คำถามคือ ธุรกิจการเงิน นั้น จะเข้ามามีส่วนร่วมกับเรื่องนี้ได้อย่างไร
Share

 

Sustainability with Technology หรือความยั่งยืนที่วันนี้โลกทั้งใบกำลังเรียกหา คำถามคือ ธุรกิจการเงิน นั้น จะเข้ามามีส่วนร่วมกับเรื่องนี้ได้อย่างไร

 

ธุรกิจบริการทางการเงิน เป็นหนึ่งในภาคธุรกิจ ที่มีบทบาทสำคัญในการบรรเทาปัญหาความแปรปรวนของสภาพอากาศ โดยในการดำเนินธุรกิจ จะต้องสร้างสมดุลของการสร้างมูลค่าทางธุรกิจและความยั่งยืนไปพร้อมกัน

ในบทความนี้ Sai Mandapaty, Chief Commercial Officer, Muralikrishnan Puthanveedu, Principal Consultant และ Mahima Gupta, Principle Consultant, Product Management บริษัท Thoughtworks บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีระดับโลก ได้เผยว่า ที่ผ่านมาภาคธุรกิจการเงินได้มีโครงการต่างๆ เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ ESG (Environmental, Social, Corporate Governance) และได้เริ่มลงทุนในโครงการด้านความยั่งยืนผ่านกองทุนด้าน ESG ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเป็นหนึ่งในสามของสินทรัพย์ทั่วโลก

การดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของสถาบันการเงินส่งผลต่อมนุษยชาติ สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ดังนี้

Sustainability with Technology for Human

ในประเทศกำลังพัฒนา บริการด้านการเงินดิจิทัลได้ช่วยให้รัฐบาล สามารถปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของบริการและให้ผู้คนเข้าถึงบริการได้มากขึ้นด้วย  อาทิ นโยบายของธนาคารทุนสำรองอินเดียที่จูงใจให้ธนาคารต่างๆ ปล่อยเงินกู้แก่องค์กรที่หลากหลายขึ้น เช่น โรงงานและบริษัทผู้จัดหาวัคซีน ออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งช่วยเพิ่มสภาพคล่องของผู้ให้บริการด้านสุขภาพได้สูงถึง 6.4 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ จึงช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นเข้าถึงบริการได้ และประสิทธิภาพของบริการก็ดีขึ้นด้วย

ความยั่งยืนทางสังคม

ในปัจจุบันมีประชากรวัยผู้ใหญ่กว่า 1.6 ล้านคนทั่วโลกที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน ฟินเทคกำลังช่วยลดความเหลื่อมล้ำนี้ เช่น ธุรกรรมดิจิทัลที่เข้ามาแทนที่การใช้เงินสด นอกจากนี้ การใช้บัตรเสมือน (virtual card) ยังช่วยลดการใช้พลาสติกและโลหะ

อีกหนึ่งตัวอย่างคือการวิเคราะห์ที่ช่วยอนุมัติเงินกู้สำหรับกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงบริการด้านการเงิน หรือการอนุมัติ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” (Buy Now Pay Later)

ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

ธนาคารต่างๆ ได้มีการลงทุนในโครงการใหม่ๆ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ธนาคาร De Volksbank ในเนเธอร์แลนด์ตั้งเป้าลดคาร์บอนโดยการให้ความรู้แก่ลูกค้าเกี่ยวกับทางเลือกในการประหยัดพลังงานและการติดฉนวนกันความร้อนภายในบ้าน ตอนนี้ธนาคารทั่วโลกกำลังกำหนดพอร์ตสินเชื่อและการลงทุนเพื่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050

สถาบันทางการเงินยังสนับสนุนตลาดซื้อขายเพื่อเป้าหมายดังกล่าวด้วย ยกตัวอย่างเช่น มีการปล่อยก๊าซคาร์บอน (เช่น การปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรม) ในพื้นที่หนึ่ง มาเป็นการสะสมคาร์บอนไว้อีกที่หนึ่ง (เช่น ป่าฝน) เป็นการสร้างตลาดที่กิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวถูกนำมาหักล้างกัน

ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

ธนาคารโลกได้ออกตราสารหนี้สีเขียวฉบับแรกของโลกในปี 2008 ด้วยความมุ่งมั่นที่จะลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต่อมาสถาบันทางการเงินอีกหลายแห่งก็ได้ปฏิบัติตาม ทำให้นักลงทุนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้มีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามที่ตั้งใจ

เพื่อริเริ่มและดำเนินโครงการด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องต่อไป องค์กรและสถาบันทางการเงินต้องมีกลยุทธ์ระยะยาวที่ผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน โดยเทคโนโลยีสามารถช่วยให้การปรับเปลี่ยนบริการมีความยั่งยืนมากขึ้นได้ ดังนี้

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์: มีผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ (innovative product) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น Donor Advised Funds ที่ให้เงินสนับสนุนแก่ลูกค้า เพื่อเป็นทุนสำหรับกิจกรรมที่พัฒนาความยั่งยืนผ่านโครงการการกุศลต่างๆ

บรรษัทภิบาล: เพื่อให้ความยั่งยืนและการเติบโตสมดุลกัน สถาบันทางการเงินอย่าง Credit Suisse จึงพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงขึ้น และบริษัทอื่นๆ อีกหลายแห่งก็กำลังจัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษา เพื่อผลักดันให้ความยั่งยืนเป็นประเด็นสำคัญอันดับแรก

สนับสนุนให้เป็นกลยุทธ์: องค์กรอย่าง JP Morgan กำลังตั้งเป้าหมายความเข้มข้นของคาร์บอนสำหรับลูกค้าในภาคธุรกิจที่มีความสำคัญ เพื่อให้ลูกค้าพิจารณาให้ความยั่งยืนให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจ

การร่วมผลักดันของกลุ่มธุรกิจ: บริษัทด้านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น Thoughtworks ที่กำหนดให้ความยั่งยืนเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักนั้น กำลังผลิตคู่มือเพื่อสนับสนุนลูกค้าในการเริ่มต้นและไปให้ถึงเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

เทคโนโลยีและข้อมูล: องค์กรต้องรวบรวม ทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ข้อมูล ที่จะส่งผลต่อผลลัพท์ทางการเงิน โดยแพลตฟอร์มข้อมูลและโมเดลของระบบที่เหมาะสมจะทำให้ขั้นตอนนี้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สก็จะทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้

เกี่ยวกับ ThoughtWorks

ThoughtWorks เป็นบริษัท IT Consultancy จากสหรัฐอเมริกา มีสำนักงานอยู่ใน 40 แห่งใน 15 ประเทศทั่วโลก ก่อตั้งในปี 1993 แต่เพิ่งเข้ามาตั้งบริษัทในไทยเมื่อปี 2016 นี้เอง

สิ่งหนึ่งที่ ThoughtWorks เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก คือเป็นแกนหลักที่ผลักดัน Agile ในฐานะรูปแบบหรือกระบวนการในการทำงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบใหม่ แทนที่รูปแบบ waterfall แบบเดิม เนื่องจาก Martin Fowler และ Jim Highsmith สองผู้สร้างกระบวนการ Agile ยังเป็นพนักงานของ ThoughtWorks จนถึงปัจจุบันนี้

 

ท่านผู้อ่านที่สนใจ ข่าวสาร และ บทความ ทางด้านความยั่งยืน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

Related Articles