iMAKE ระเบิดความมันส์แบบสุดๆ ในการแข่งขันหุ่นยนต์อัจฉริยะ “Thailand Open ROS and Smart Robot Competition 2024” เฟ้นหาเยาวชนไทยก้าวสู่เส้นทางสมรภูมิแห่งความสามารถในการแข่งขันระดับโลก

Share

 

จบลงไปแล้ว สำหรับการแข่งขัน THAILAND OPEN ROS and Smart Robot Competition 2024  เพื่อเฟ้นหาตัวแทนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับมหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนเดินทางแข่งขันบนเวทีนานาชาติ ในรายการ JAPAN OPEN ที่ประเทศญี่ปุ่น และรายการ WORLD ROBO CUP ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ภายในปี 2024

โดยเป็นความร่วมือของ บริษัท ไอเมค อินโนเวชั่น จำกัด (iMAKE Innovation) สถาบันพัฒนาทักษะดิจิทัลเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรม ร่วมกับ 3 สถาบัน IRAP จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, RAI จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผนึกกำลังเพื่อยกระดับความสามารถการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยหุ่นยนต์สุดล้ำ กับการแข่งขันอันสุดยิ่งใหญ่แห่งปี

ภายในงาน เต็มไปด้วยความสนุกตื่นเต้น และลุ้นไปกับการแข่งขันที่ดุเดือด แต่ละทีมต่างพากันสู้แบบไม่ถอย พร้อมกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่แม่นยำและฉับไว เพื่อให้หุ่นยนต์อัจฉริยะ (Smart Robot)ที่สร้างขึ้นตอบสนองต่อโจทย์ของกรรมการอย่างตรงเป้าและรวดเร็วมากที่สุด จนได้ทีมผู้ชนะการแข่งขันจาก 3 รายการ เพื่อเตรียมตัวเป็นตัวแทนประเทศไทยสู่การแข่งขันระดับสากล นำความภาคภูมิใจสู่ประเทศไทย ได้แก่

Junior Rescue โดย ชุมนุม iRAP มหาวิทยาเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

การแข่งขันสร้างหุ่นยนต์ RMRC เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันหุ่นยนตร์กู้ภัย (Robo Cup Rescue) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาหุ่นยนตร์และส่วนประกอบหุ่นยนตร์ขนาดเล็ก ที่ผลิตได้อย่างรวดเร็วและใช้ต้นทุนต่ำ (Rapid Manufacturing) สำหรับเป็นตัวช่วยผู้ประสบภัย และทีมกู้ภัย ให้สามารถเข้าปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จอย่างปลอดภัย

ชนะเลิศอันดับ 1: ทีม E-TECH ALL TIME จากวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันตก อีเทค

รองชนะเลิศอันดับ 1: ทีม SiC Robotic (SuperSmart Intelligent Creative) จากโรงเรียนจิตรลดาวิชาชีพ

รองชนะเลิศอันดับ 2: ทีม BB ambulance จากโรงเรียนบ้านบึง”อุตสาหกรรมนุเคราะห์”

 

Industrial Logistics Challenge โดย ภาควิชา Robotics & AI โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังในภาคอุตสาหกรรม

การแข่งขันสร้างหุ่นยนตร์และระบบปฏิบัติการ ที่เข้ามาเพื่อช่วยจัดการระบบงานที่ต้องการความแม่นยำและรวดเร็ว เพิ่มศักยภาพ และลดต้นทุนการผลิต เพื่อตอบสนองการใช้งานด้านต่างๆของธุรกิจภาคอุตสาหกรรม

ชนะเลิศอันดับ 1: ทีมDinonaut จาก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายมัธยมศึกษา(ศึกษาศาสตร์) Dinonaut

รองชนะเลิศอันดับ 1: ทีม สับสน robotting จาก โรงเรียนชลประทาน

รองชนะเลิศอันดับ 2: ทีม CS5th จาก โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา

 

@Home Education โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน

การแข่งขันหุ่นยนตร์ใช้งานภายในบ้าน หรือ Robot @Home Education Challenge เป็นการแข่งขันหุ่นยนตร์ที่มุ่งเน้นการสร้าง และพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ เพื่อประยุกต์ใช้สำหรับงานบ้าน เช่น การค้นหาและเก็บขยะไปทิ้งในถังขยะที่ถูกต้อง การช่วยยกของหรือเปิดปิดไฟ  และการจดจำใบหน้าบุคคล

ระดับมัธยม

ชนะเลิศอันดับ 1: ทีม 404 Not Found ทีมรวมจาก King College International School Bangkok, Shrewberry International School Bangkok และ Newton International School

รองชนะเลิศอันดับ 1: ทีม SEA จาก Ekamai International School, The Demonstration School of Bansomdejchaopraya Rajabhat University, Assumption College

ระดับมหาวิทยาลัย

ชนะเลิศอันดับ 1: ทีม SKUBA Jr. จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

รองชนะเลิศอันดับ 1: ทีม Robomaniac, CLEANING IN PROGRESS จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน (คะแนนร่วม)

นายมานิตย์ จันสุทธิรางกูร CEO & Founder iMAKE Innovation  กล่าวว่า “ วันนี้เทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปมาก และศักยภาพของเยาวชนไทยเองก็พัฒนาไปได้อย่างไม่มีขีดจำกัดเช่นกัน iMAKE Innovation ในฐานะสถาบันพัฒนาทักษะดิจิทัลและเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรม มีความยินดีในการ เป็นส่วนร่วมในการส่งเสริมความสามารถนี้ให้ทั่วโลกได้เห็น และขอขอบคุณทั้ง 3 สถาบัน ที่ได้เล็งเห็นของการพัฒนาศักยภาพของการศึกษาไทยแบบยั่งยืน ถือเป็นการรวมตัวของอุดมการณ์ที่เหมือนกันคือไม่เพียงแค่ดูแลเฉพาะระดับอุดมศึกษาเท่านั้น แต่ได้ลงมาร่วมมือกันปูพื้นฐานบ่มเพาะให้เยาวชนไทยตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา เพราะการแข่งขันทุกรายการมีการอบรมถ่ายทอดความรู้ของหุ่นยนต์ระดับสูงที่ใช้จริงในภาคอุตสาหกรรมจากอาจารย์และรุ่นพี่มาให้น้องๆได้ฝึกฝนและนำไปปรับเพื่อสร้างนวัตกรรมของตนเอง ได้เรียนรู้เทคโนโลยีและเนื้อหาระดับมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว นับเป็นข่าวดีสำหรับน้องๆที่จะได้รับโอกาสและประสบการณ์นี้ ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกก็ได้รับการตอบรับอย่างดีหวังว่าปีหน้าจะมีทีมที่สนใจเข้าเรียนรู้และสร้างการพัฒนานี้ให้ยั่งยืนต่อไปครับ”

การแข่งขันเพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทย จาก 3 รายการ จำนวน 93  ทีมจาก  44  สถาบัน ให้เหลือเพียง 3 ทีมชนะเลิศในแต่ละรายการ เป็นตัวแทนประเทศไทยไปทำการแข่งขันในระดับโลกที่ประเทศญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ในช่วงกลางปี 2024 นี้ เพื่อสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย แต่นอกเหนือการหาผู้ชนะจากการแข่งขันนี้แล้ว ยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้เยาวชนไทยได้พัฒนาและเรียนรู้การใช้ Coding และ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการแข่งขันทั้งยังนำไปสู่การสร้างสำนึกในการแบ่งปัน การรู้แพ้ รู้ชนะ การทำงานเป็นทีมเวิร์ค การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้กับนักคิดนักประดิษฐ์ในด้านเทคโนโลยีต่อไปในอนาคตได้เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันต่อไป”

หมายเหตุ  **สถาบัน หมายรวมถึง โรงเรียนไทย  33  /โรงเรียนอินเตอร์ 4 / มหาวิทยาลัย 10

Related Articles