ทางม้าลายมีไว้ทำไม!

ทางม้าลาย
Share

 

ทางม้าลายมีไว้ทำไม!

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุในรายงาน Global Status Report on Road Safety ปี 2561 ว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในเอเชีย โดยเสียชีวิต 32.7 คน ต่อประชากร 1 แสนคน โดยเป็นอันดับ 9 ของโลก

ที่น่าตกใจคือ นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัย มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย เปิดเผยผ่านรายการโหนกระแสว่า มีผู้เสียชีวิตจากการข้ามถนนบนทางม้ายลายในประเทศไทยปีละราว 500 ราย

เป็นที่มาของการตั้งข้อสังเกตถึงการมีขึ้นของทางม้าลาย!

แค่ทางม้าลายอย่างเดียวเพียงพอที่จะให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนหรือไม่?

ถ้าย้อนกลับไปดูจุดกำเนิดของทางม้าลายจะพบว่าก่อนจะเป็นทางม้าลายที่เป็นสัญลักษณ์ของทางข้ามถนนสากลนั้นมีการออกแบบและทดสอบมาหลายปี

 Pedestrian Crossing Pompei
ทางข้ามในปอมเปอี นครโรมันโบราณ (อิตาลี) เชื่อว่ามีเพื่อหลีกเลี่ยงการเลอะโคลนและฝุ่นดินเนื่องจากการเครื่องนุ่งห่มของสาวยุคนั้นยาวกรุยกราย

ตั้งแต่ใช้การปักหมุดด้วยปุ่มเหล็กเล็กๆ บนเส้นถนน ให้สัญญาณคนขับรถ และใช้เสาติดตั้งด้านข้างบนทางเท้าเพื่อให้สัญญาณแก่คนข้าม เมื่อ ค.ศ.1931 ที่ประเทศอังกฤษ แล้วค่อยๆ พัฒนามาเรื่อยๆ มีการทดสอบสีของทางม้าลาย ด้วยสีเหลือง-น้ำเงิน ขาว-แดง

พบว่า ขาว-ดำ เหมาะที่สุด โดยใช้คู่กับเสาไฟสัญญาณ Belisha beacon สำหรับกดให้รถยนต์ที่กำลังขับขี่มาเมื่อเห็นแสงโคมสีส้มจะหยุดให้ข้ามอย่างปลอดภัย ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการตีเส้นซิกแซกก่อนถึงทางม้าลายเพื่อเตือนผู้ขับขี่อีกชั้นหนึ่งให้ชะลอความเร็วลง

abbey road
ก่อนถึงทางม้าลายจะเขียนเส้นซิกแซกให้สัญญาณรถยนต์ชะลอความเร็ว

ที่สุดได้ออกมาเป็นทางม้าลายแรกของโลกที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางข้ามถนนอย่างเป็นทางการ เมื่อ ค.ศ.1951 ที่เมือง Slough ประเทศอังกฤษ

ทางม้าลายสีขาวดำแห่งแรก
ทางม้าลายสีขาวดำแห่งแรกที่อังกฤษ

อย่างไรก็ตาม ทางม้าลายได้มีการพัฒนา ออกแบบให้สอดคล้องไปกับสถานที่ตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น ที่ย่านชิบุยะ เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนที่แม้แต่คนญี่ปุ่นยังยอมรับว่าเป็นทางแยกที่ผู้สัญจรไปมามากที่สุดในโลก โดยข้อมูลในปี 2016 ระบุว่ามีจำนวนผู้สัญจรข้ามถนนมากถึง 3,000 คนต่อไฟเขียวในทุก 2 นาที ออกแบบเป็นทางม้าลายไขว้

Shibuya Crossing
ทางม้าลายที่ย่านชิบุย่า เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

 

The Beatle ที่ Abby Road
ถนน Abby Road ประเทศอังกฤษ กลายเป็นสถานท่องเที่ยวที่ใครก็ต้องมา

 

ทางม้าลายสีรุ่งที่เนเธอร์แลนด์
ทางม้าลายสีรุ่งที่เนเธอร์แลนด์

ทั้งนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ หมอกระต่าย แพทย์ผู้ชำนาญการด้านจักษุวิทยา ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ชนเสียชีวิตที่หน้าสถาบันไตภูมิราชนครินทร์ ใจกลางกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา

เกิดข้อถกเถียงกันเป็นวงกว้าง บ้างเสนอความเห็นว่าควรจะมีการติดตั้งลูกระนาดก่อนถึงทางม้าลาย เพื่อชะลอรถยนต์/รถจักรยานยนต์ที่ขับขี่มาเร็ว บ้างว่าต้องติดตั้งสัญญาณไฟเพิ่ม รวมทั้งติดตั้งโคมไฟให้แสงสว่างเผื่อในเวลากลางคืน

เยอรมัน built-in_lighting
ทางม้าลายในเยอรมันติดตั้งพร้อมโคมไฟส่องสว่าง

หนึ่งในนั้นคือ การทำทางม้าลายสามมิติ หรือทางม้าลาย 3D

ทางม้าลาย 3D ที่อินเดีย
ทางม้าลาย 3D ที่อินเดีย

ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการทดลองและใช้จริงมาในหลายพื้นที่ในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น ที่บริเวณทางข้ามตลาดการค้าชายแดนวัดดอยเวา อ.แม่สาย จ.เชียงราย กรมทางหลวงจัดทำขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2559 กระตุ้นให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวใช้ทางม้าลายทุกครั้งที่ข้ามถนน

ทางม้าลายหน้าโรงเรียนวิเชียรชม จ.สงขลา
ทางม้าลายหน้าโรงเรียนวิเชียรชม จ.สงขลา

โครงการ “3D Crosswalk” นี้ ส่วนหนึ่งของโครงการ จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้ ด้าน SMART LIVING” ที่สยาWhy is there a crosswalk?มสแควร์ซอย 1 ไปจนถึง 3 จุดที่ 2 อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ (จุฬาฯ ซอย 26), จุดที่ 3 ทางเชื่อมระหว่างคณะนิติศาสตร์ กับสามย่านมิตรทาวน์, จุดที่ 4 I AM Park , จุดที่ 5 Block 28, จุดที่ 6 สวนหลวงสแควร์ เชื่อมกับ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาฯ และจุดที่ 7 ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน

ทางม้าลาย 3D ที่สยามสแควร์ ซ.1-3
ทางม้าลาย 3D ที่สยามสแควร์ ซ.1-3

เพื่อจูงใจให้คนข้ามถนนหันมาใช้ทางม้าลายในการข้ามถนน อันเป็นการรณรงค์และสร้างวินัยจราจรให้คนข้ามถนนถูกที่ช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน.

 

อ้างอิงภาพจาก: Wikipedia, PMCU, Creativemove, Hatyai Today

rabbit2themoon

rabbit2themoon

คอลัมนิสต์หน้าไม่ใหม่ เคยพำนักอยู่ใต้ชายคามติชน ประจำกอง บก.นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ก่อนขยับมาเป็นผู้สื่อข่าวเซ็กชั่นประชาชื่น เขียนสัมภาษณ์บุคคล-สกู๊ปเชิงไลฟ์สไตล์-ท่องเที่ยว-อาหาร-จิปาถะ สถานะปัจจุบัน นอกจากเป็นคอลัมนิสต์ ยังเป็นนักเขียนอิสระ เขียนบทความเชิงประชาสัมพันธ์

Related Articles