เชื่อหรือไม่!!! เรื่องผัสสะในศาสนาพุทธ คือโครงสร้างของเทคโนโลยีอัจฉริยะในปัจจุบัน

Share

 

ในหลักการของศาสนาพุทธ ไม่มีสิ่งจะคงอยู่ตลอดไปได้ ล้วนมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ซึ่งมันเป็นหลักการของธรรมชาติ หลักธรรมของศาสนาพุทธ แทบจะทุกแนวทางสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโลกปัจจุบันได้อย่างไร้รอยต่อ

อย่างเรื่องของ ผัสสะ ถ้าพูดในแง่พุทธศาสนา ชาวพุทธที่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง หรือถ้าระลึกได้จากบทเรียนวิชาพุทธศาสนาคงจะแปลได้ว่า คือการสัมผัส การกระทบ สิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึก โดยผัสสะ เป็นการบรรจบกันของ 3 สิ่ง ได้แก่

  1. อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
  2. อายตนะภายนอก ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์
  3. วิญญาณ หรือการรับรู้

สามสิ่งนี้เป็น “บ่อเกิด” ของการปรุงแต่งทางอารมณ์ของมนุษย์ ตั้งแต่เริ่มมีการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 และเอาไปประมวลผลในสมอง ทำให้เกิดการกระทำและความรู้สึกต่างๆ ออกมา

โดยแนวคิดนี้เองเป็นต้นแบบของเทคโนโลยีอัจฉริยะในปัจจุบัน เมื่อนักประดิษฐ์ เริ่มเอา “เซ็นเซอร์” เข้ามา ให้อุปกรณ์มีอายตนะภายใน มาแทน ตา หู จมูก ลิ้น กาย (สำหรับใจ อาจไม่ทันในยุคนี้) พูดง่ายๆ คือมาแทนประสาทสัมผัสของมนุษย์ เพื่อตรวจจับ “วัตถุ” ที่เทียบเท่ากับ อายาตนะภายนอก เช่น การเซ็นเซอร์เมื่อมีวัตถุเกินผ่าน การเซ็นเซอร์ใบหน้าที่เราให้ระบบจดจำ (รูป) หรือการที่ให้ระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับความเค็ม เปรี๊ยว (รส) เซ็นเซอร์ตรวจจับกลิ่นที่ใช้สำหรับสมาร์ทฟาร์ม อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องฟอกอากาศ (กลิ่น) เซ็นเซอร์ตรวจจับเสียง คงไม่ต้องพูดถึงมากเพราะทุกคนคุ้นเคยกันดี อย่างระบบสั่งงานด้วยเสียง หรือตรวจสอบชื่อเพลงจากเสียงร้อง (เสียง) สัมผัส นั่นแทบจะใช้ทุกวันเช่นการสแกนลายนิ้วมือเพื่อเข้าสมาร์ทโฟน มีตั้งแต่รุ่นหลักพันก็สแกนจากปุ่มข้างเครื่อง ถ้าพรีเมี่ยมหน่อยก็สแกนหน้าจอ ส่วนธรรมารมณ์ อาจต้องรออีกหน่อยสักอีก 20 ปีอาจมีเซ็นเซอร์ตรวจจับอารมณ์ได้อย่างแม่นยำ

และ “การรับ” ทั้งหมดนั้นก็จะส่งไปประมวลผลกับสัญญา (ระบบความจำหรือตัวเก็บข้อมูล) ทำให้เกิด “วิญญาณ” หรือการรับรู้นั่นเอง หลังจากนั้นก็จะให้อุปกรณ์ (ร่างกาย) ทำอะไรก็แล้วแต่

คิดง่ายๆ เชื่อว่าหลายคนคงใช้ประตูอัตโนมัติ แบบสแกนใบหน้า หรือสแกนบัตร นั่นเรียกได้ว่ามีผัสสะในระดับหนึ่งคือ ตัวเราเป็นอายตนะภายนอก ที่ให้อายตนะภายในตรวจจับนั่นคือเซ็นเซอร์ใบหน้า และส่งสัญญาณหรือข้อมูลไปยัง “วิญญาณ” คือการรับรู้ของหน่วยประมวลผล จากการบันทึกข้อมูลไว้ในหน่วยความจำ (สัญญา) ทั้งหมดเป็นโครงสร้างที่ถูกสร้างขึ้นตามหลักการของ “ผัสสะ”ที่พระพุทธเจ้าคิดไว้เมื่อ 2500 ปีก่อน

เมื่อย้อนไปคนที่โตมาในยุค 90 อาจจะดี๊ด๊าเมื่อที่บ้านมีโทรทัศน์ขาวดำ หลังจากนั้นไม่นานมีโทรทัศน์สีก็มาติดๆ กัน พร้อมด้วยเครื่องเล่นคลาสเซ็ทเทป ที่คุ้นกันอยู่ว่ามีเพลงอยู่สองทั้ง คือหน้า A กับหน้า B พอจบหน้า A ก็กลับเทปฟังหน้า B ต่อ หรือถ้าไม่ชอบหน้า B ก็ต้องกดปุ่มกรอเทปกลับไปเริ่มต้นหน้า A ใหม่ ก็อดทนรอกันไปกว่าจะกรอเสร็จ หลังจากที่โซนี่ติดเซ็นเซอร์เข้าไปที่หัวอ่าน ทำให้สามารถกำหนดแทรคการเล่นเพลงได้ และฟังเพลงได้ทั้งสองหน้า โดยไม่ต้องเปิดถาดใส่เทปแล้วกลับด้าน อยากฟังเพลงไหนก็กดรีโมทเอา หรือฟังก่อนนอนแล้วให้มันวนทั้งคนก็ได้ ตอนนั้นถือว่าว๊าว โคตรล้ำ!!! แม้จะต้องอดทนฟังเสียงเคร่กๆ ในการกรอไปกรอมาของเครื่องเล่นอยู่พักนึงก็เถอะ หลังจากนั้นก็มีเครื่องเล่นซีดี  ที่จะฟังเพลงไหนก็ไม่ต้องรอเซ็นเซอร์มันสามารถรับรู้ได้ว่าเพลงไหนอยู่ตรงไหนในซีดี

เรามาลองดูซีรีย์สมัยก่อนกันบ้าง ถ้าเป็นคนที่เป็นชาวยุค 90 ที่ตอนนี้อายุ จวน 50  คงไม่พลาดเรื่องช่วงนั้นมีซุปเปอร์ฮีโร่จากแดนอาทิตย์อุทัย ที่สามารถรับคำสั่งและพูดคุยกับผู้บัญชาการได้ผ่านนาฬิกาข้อมือ ตอนนั้นว๊าวมาก โคตรล้ำ  ผมไม่เคยคิดเลยว่าปัจจุบันผมก็สั่งให้ลูกซื้อของใน 7-11 ผ่านสมาร์ทวอช แบบในซีรีย์ของญี่ปุ่นเป๊ะ

เมื่อไม่นานนี้ ผมเคยเอาของกรุเก่า อย่างเช่น เครื่องเล่นเทปกับเทปเพลงโปรดในสมัยผมเป็นเด็กๆ ที่มองมันว๊าว ตอนที่ผมอายุเท่ากับลูกในสมัยนั้น ลูกทำหน้างงว่ามันเล่นได้อย่างไร  ไม่แปลก!!!  เพราะเขาเกิดมาในยุคที่เพลงฮิตติดยูทูป ไม่ใช่เพลงฮิตติดชาร์จจากการประเมินของดีเจเพียงไม่กี่คน แต่ตัวเลขยอดวิวบนยูทูปมันเป็นสิ่งที่วัดได้ว่าฮิตจริง เขาเติบโตมากับ ดูในสิ่งที่อยากดูโดยไม่ต้องอดทนรอเหมือนที่เราต้องอดทนเหมือนเมื่อก่อนมากนัก  ค้นคว้าเพื่อทำการบ้านผ่านกูเกิ้ล (เราใกล้ชิดและช่วยสอนการคัดกรองข้อมูลปลอมๆ สักหน่อย)

สมัยก่อนเมื่อผมทำการบ้านหรือทำงานกลุ่มต้องนัดเพื่อนที่ห้องสมุดไม่ตอนเย็น ก็เสาร์อาทิตย์ เพื่อหาข้อมูล เดี๋ยวนี้เด็กๆ นัดคุยงานกลุ่มกันผ่านไลน์ นั่งโอวีดีโอพร้อมกันผ่านไลน์ แปะลิ้งกูเกิ้ลให้เพื่อน แล้ว Discuss กันตอนนั้น ในช่วงใกล้สอบเขาเรียนพิเศษผ่านไมโครซอฟต์ทีมบ้าง กูเกิ้ลมีตบ้าง และหลังเลิกเรียนเมื่อก่อนผมจะไปต่อคิวซื้อพวกขนม ของเล่น หน้าโรงเรียน เดี๋ยวนี้เด็กๆ ไปต่อแถวซื้อน้ำจากตู้เต่าบินระแวกโรงเรียน หรือตู้กดขนม บ้างก็ไปคีบตุ๊กตา ทั้หมดจ่ายเงินผ่าน e-wallet

เชื่อเหลือเกินว่าของที่มันว๊าวๆ ในยุคนี้ยุคที่ลูกผม 10 ขวบ ในอีก 40ปี ข้างหน้า เด็กในสมัยนั้นอาจจะไม่รู้จักมันก็เป็นได้ อาจจะมีเทรนด์ที่พวกเราต่างนึกไม่ถึง ไม่ต่างอะไรกับตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญที่เคยเป็นขวัญใจวัยรุ่นในสมัยก่อน โด่งดังในยุคซุปเปอร์แมนที่มีภาพจำว่าต้องแปลงร่างในตู้โทรศัพท์ สุดท้ายเทคโนโลยีในวันนี้จะกลายเป็นเพียงความว่างเปล่าในอนาคต ที่อาจมีเพียงผู้ถวินหาเท่านั้นที่รู้จัก

SUS10

SUS10

ตัวแทนคนธรรมดา ที่ชื่นชอบเรื่องของความยั่งยืน ทั้งการใช้ชีวิต เทคโนโลยี และธุรกิจ

Related Articles