เปิดตำราค่ายรถจีน เด่นจน VW Group โดดเข้าไปถือหุ้นด้วย

XPeng นั้นคือใครในโลกยานยนต์ไฟฟ้า แล้วเพราะอะไร VW Group ถึงยอมจ่ายเงินระดับ 700 ล้านเหรีสญสหรัฐ กับการถือหุ้นไม่ถึง 5%
Share

 

คงมีคำถามว่า แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้ารายนี้คือใคร? แม้ว่าชื่อของแบรนด์อาจฟังดูไม่เป็นที่คุ้นเคยในวงกว้าง แต่นี่คือผู้ที่เคยท้าทายความเป็นผู้นำของ Tesla ในเรื่อง Autonomous Drive จนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปเข้าตา Volkswagen Group ที่ยอมควักเงิน 700 ล้านเหรียญสหรัฐ กับการถือหุ้น 4.99%

 

XPeng คือใคร มาจากไหน

ชื่อของแบรนด์นี้ออกเสียงเรียกอย่างเป็นทางการว่า “เสียวเผิ้ง” คือบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะชั้นนำของจีนที่ออกแบบ พัฒนา ผลิต และทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ (EV) ในประเทศจีน โดยมุ่งเป้าที่กลุ่มลูกค้าชั้นกลางที่มีความชำนาญด้านเทคโนโลยีในระดับกลางถึงสูงในตลาดรถยนต์ขนส่งผู้โดยสารในประเทศจีน บริษัทขาย EV มากกว่า 120,000 คันในปี 2022 คิดเป็นส่วนแบ่งประมาณ 2% ของตลาดรถยนต์พลังงานใหม่ของประเทศจีน นอกจากนี้ บริษัทยังเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการขับรถอัตโนมัติอีกด้วย

ปัจจุบัน บริษัทมีรถอยู่สองรุ่นหลักคือ G3 และ P7 ที่เป็น SUV และสปอร์ตซีดานสี่ประตู ส่วน 4 G3 เป็น EV SUV อัจฉริยะขนาดกลางที่เปิดตัวในปี 2018 และ 5 P7 เป็น EV ซีดานสปอร์ตอัจฉริยะระดับพรีเมียมที่เปิดตัวในปี 2020 โดยล่าสุดเพิ่งเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าแบบเก๋ง ซีดานสำหรับครอบครัว P5 ไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2023 นับเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการขับขี่อัตโนมัติแบบ Lidar

 

ถูก Tesla กล่าวหาแรง “หัวขโมย”

ชื่อเสียงของบริษัทเริ่มเป็นที่รู้จักในวงผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่เฉพาะแค่ในประเทศจีน แต่เป็นที่กล่าวขานหลังจากที่ แบรนด์จีนรายนี้ ประกาศส่งรถยนต์ไฟฟ้าของตัวเองไปขายทั้งในตลาดอเมริกาและยุโรป โดยเริ่มเปิดตลาดในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ด้วยการส่งรถไปจอดตามสถานที่ต่างๆ และมีการเปิดให้ผู้ที่สนใจลองนั่งและขับ

แต่สิ่งที่ทำให้ตัวบริษัทเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก คือการออกข่าวในสายรถยนต์ไฟฟ้า เรื่องที่ Tesla ออกมาเตรียมยื่นฟ้อง XPeng ในข้อหาขโมยชุดรหัสคำสั่งของระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือ Autonomous Driving โดยตอนนั้นบริษัทจากจีนรายนี้ประกาศว่าตัวเองมีระบบการขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับ L4 ก่อนใคร

Tesla อ้างว่า เชา กวงฉี อดีตวิศวกรที่ดูงานการสร้างระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติได้ลักลอบดาวน์โหลดชุดรหัสคำสั่งของระบบดังกล่าวเก็บไว้ที่ตนเอง และหลังจากย้ายไปทำงานร่วมกับ XPeng วิศวกรรายนี้ได้ขายชุดคำสั่งเหล่านี้ให้กับบริษัทใหม่ ซึ่งทำให้บริษัทรถยนต์จากจีนรายนี้ ออกมาประกาศว่ามีระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับ L4 ดังกล่าว

แต่ที่น่าสังเกตคือ ทำไมวิศวกรจีนรายนี้ถึงเก็บชุดคำสั่งดังกล่าวมาขายให้กับ XPeng เพราะก่อนหน้าที่จะมาร่วมงานกับบริษัทรถยนต์รายนี้ เขาย้ายไปทำงานด้านวิศวกรรมให้กับ Apple ซึ่งในระหว่างนั้นก็มีข่าวการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ารวมถึงระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติอยู่เช่นกัน คำถามคือทำไมไม่ขายให้กับ Apple เพราะน่าจะทำเงินได้มากกว่า

ส่วนด้าน XPeng เองก็ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาของทาง Tesla ด้วยการบอกว่าระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติของบริษัทเกิดจากการพัฒนาระบบภายในแผนกวิจัยและพัฒนาของตนเอง และยังบอกอีกว่าบริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัด

จากข้อมูลพบว่า ก่อนหน้าที่ เชา กวงฉี จะร่วมงานกับบริษัทนั้น กู จุนลี่ อดีตหัวหน้าฝ่าย Machine Leaning ระบบ Autopilot ซึ่งเป็นชื่อเรียกของระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติระดับ L2+ ของ Tesla มารับตำแหน่งหัวหน้าพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติของทาง XPeng ซึ่งแม้ กู จุนลี่ จะไม่มีชุดรหัสคำสั่งมา แต่ดูเหมือนบริษัทจีนน่าจะได้ประโยชน์จากทางลัดในระบบนี้อยู่พอสมควร

ปัจจุบันข่าวคราวการฟ้องร้องระหว่างสองบริษัทยังไม่มีความคืบหน้า รวมถึงส่วนที่ทางวิศวกรคนดังกล่าวที่มีการฟ้องกลับไปยัง Tesla ก็ไม่พบความคืบหน้าหรือการตัดสินใดๆ มีแต่รายละเอียดว่า เชา นั้นได้ทำการฟ้องกลับเรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงินที่ไม่ได้มีการเปิดเผย

 

เด่นจน VW สนใจเข้าซื้อหุ้น

VW หรือ Volkswagen Group ได้ซื้อหุ้นในบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนรายนี้เกือบ 5% ในราคา 700 ล้านดอลลาร์ และตกลงเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนารถรุ่นใหม่ 2 รุ่น ซึ่งดูเหมือนการเข้าซื้อของ VW จะเป็นกลยุทธ์ที่ดีในการพลิกฟื้นยอดขายที่ซบในตลาดรถยนต์ในฐานะผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลก

ภายใต้ข้อตกลงขั้นสุดท้าย บริษัทจะร่วมมือกันพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ VW ขนาดกลาง 2 รุ่นสำหรับตลาดจีน ซึ่งจะเปิดตัวในปี 2569 Volkswagen กล่าวในแถลงการณ์

บริษัทในเครือ Audi ของกลุ่มบริษัทเยอรมนีจะทำงานอย่างใกล้ชิดมากขึ้นกับพันธมิตรที่มีอยู่อย่าง SAIC Motor ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของจีน ทำให้หุ้นของบริษัทพุ่งขึ้นมากกว่า 30%

จีนเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของ Volkswagen โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40% ของยอดขายทั่วโลกและผลกำไรครึ่งหนึ่ง แต่บริษัทต้องเผชิญกับยอดขายที่ซบเซาและการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งในท้องถิ่น เช่น BYD และ Tesla ซึ่งเป็นผู้นำตลาดระดับโลกในด้านรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ

แนวคิดของ Volkswagen บอกว่าการเป็นพันธมิตรกับผู้ผลิตรถยนต์ในท้องถิ่นมีเป้าหมายที่จะขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทในประเทศจีนอย่างรวดเร็ว ด้วยรถรุ่นอื่นๆ

ในทางกลับกันการเข้ามาถือหุ้นของ VW ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะอย่างแรกคือ ทำให้บริษัทมีเงินทุนเพิ่มขึ้น สองสามารถเข้าถึงแหล่ง Suppliers ได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้บริษัทบริหารต้นทุนได้คล่องตัวมากขึ้นกว่าถึงแม้ว่าจีนและ SAIC ผู้ถือหุ้นเดิมจะถือว่าใหญ่ที่สุดในจีนอยู่แล้วก็ตาม

อีกเรื่องคือการนำเอาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมยานยนต์ในเครือ VW มาใช้ เพราะไม่ว่าปัจจุบันบริษัทในเครืออาทิ Audi, Porsche, Skoda และ VW มีโครงสร้างวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่ล้ำหน้าไม่เป็นสองรองใครในโลก รวมถึงเทคโนโลยีการขับเคลื่อน รวมถึงยานยนต์พลังงานใหม่ๆ ที่เตรียมผลิตในอนาคต

 

XPeng ก็เคยมองตลาดประเทศไทย

ถามถึงความเป็นไปได้ในการได้เจอรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์นี้ รวมถึงการได้เป็นเจ้าของในเมืองไทยนั้น ก็คงต้องบอกว่าอาจจะทั้งเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้

อย่างแรก ณ เวลานี้ แม้ว่าบริษัทนอกจากจะขายในประเทศจีนแล้ว ยังมีการส่งออกไปบุกตลาดทั้งอเมริกาและยุโรปในบางประเทศ แต่รถยนต์ทั้งหมดที่ถูกส่งออกไปนั้นมีเพียงแบบที่พวงมาลัยอยู่ด้านซ้ายเท่านั้น นั่นหมายถึงตอนนี้บริษัทยังไม่ได้มีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นพวงมาลัยขวาออกมานั่นเอง

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีโอกาสสำหรับการขายในประเทศไทย เพราะทีมงานการตลาดระดับ Global ของแบรนด์เคยรับคอมเมนต์โดยตรงจาก @teslabjorn หรือ คุณตาม นักทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าชื่อดังระดับโลกชาวไทยที่อาศัยอยู่ที่ออสโล ในการทดสอบรถของแบรนด์ในนอร์เวย์ด้วยเช่นกัน

สำหรับประเทศไทย ก็อาจจะต้องรอดูกันต่อไปว่าจะมีการนำเข้ามาจำหน่ายหรือไม่ เมื่อไหร่ ทุกอย่างเป็นเรื่องของอนาคต แต่แนวโน้มตลาดเมืองไทยให้การตอบรับกระแสรถยนต์ไฟฟ้ากันฮือฮาอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับการกำหนด position ในตลาดว่าจะจับกลุ่มลูกค้าระดับไหน ด้วยรถรุ่นไหน

 

ผู้อ่านที่ติดตาม ข่าวสาร และ บทความ รวมถึงความรู้ที่เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า และพลังงานใหม่ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

Related Articles