เป็นข่าวใหญ่ ครึกโครม เมื่อพบการจดทะเบียน บริษัท เทสล่า (ประเทศไทย) จำกัด คำถามคือ รู้ว่ามาแน่แล้ว แต่คนไทยจะคาดหวังอะไรได้บ้างจากการมาตั้งออฟฟิศในประเทศไทย
คงไม่ช้าเกินไปที่ Innomatter.com จะพุดถึงเรื่องการเข้ามาจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท เทสลา (ประเทศไทย) จำกัด และอีกไม่นานก็คงได้เห็นว่า ออฟฟิศของบริษัทยานยนต์ไฟฟ้าที่มีคนติดตามมากที่สุดทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกนั้นจะตั้งอยู่ที่ไหน (และแน่นอนถ้ามีสื่อยานยนต์แห่งไหนรายงานความเคลื่อนไหว เราก็จะรีบไปขอแชร์ข่าวเขามาเหมือนเดิม ฮ่าๆๆๆ)
ก่อนอื่น ต้องขอระบุรายละเอียดข้อมูลของข่าวนี้เสียก่อน เครดิตนี้ต้องขอขอบคุณ เว็บไซต์ข่าวยานยนต์ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีอย่าง Headlightmagazine (www.headlightmag.com) ที่ได้ลงข้อมูลไว้ดังต่อไปนี้
แหล่งข้อมูลเผยให้เห็นถึงเอกสารการจดทะบียน เลขทะเบียนนิติบุคคล 0105565069229 จดทะเบียนเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 ในหมวดหมู่ธุรกิจการขายยานยนต์ใหม่ชนิดรถยนต์ส่วนบุคคลรถกระบะรถตู้ และรถขนาดเล็กที่คล้ายกัน โดยระบุวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการขายรถยนต์ไฟฟ้า ระบบเก็บพลังานแบบติดตั้ง และอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบเก็บพลังงานแบบติดตั้ง นอกจากนี้ ยังระบุที่ตั้งบริษัท ณ เลขที่ 87 อาคารเอ็มไทย ทาวเวอร์ ออล ซีซั่นส์ เพลส ห้องเลขที่ 2319 ชั้นที่ 23 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พร้อมระบุรายชื่อคณะกรรมการ 3 ท่าน หนึ่งในนั้นคือ Mr. David John Feinstein หัวเรือใหญ่ของบริษัทจดทะเบียน Tesla ในประเทศอินเดีย ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม 2021
ซึ่งหลังจากข่าวนี้ถูกนำเสนอไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับยานยนต์ในประเทศไทยทั่วไป ความเห็นของวงกว้างก็เริ่มมีความเห็นอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ตั้งคำถามว่า เรื่องนี้จริงหรือไม่ เพราะเมื่อในช่วงปี 2558 ได้ปรากฏข่าวการเปิดตัวของ บริษัท เทสลา ออโตโมทีฟ จำกัด ว่าจะเข้าร่วมงาน Motor Expo 2015 พร้อมนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าเทสลามาเปิดตัวพร้อมขาย ในฐานะผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ทำให้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ ณ ตอนนั้นเชื่อว่ามือถือของ น้าขวัญ นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงานนี่ไม่น่าจะว่างให้โทรติดเท่าไหร่ พร้อมยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ว่า ได้ของดีมาเปิดตัว งานนี้ไม่ดังไม่รู้จะว่าไง แต่โป๊ะแตกบริษัทดังกล่าว ไม่ใช่ของจริง เสียหน้ากันเป็นแถวเป็นแนวกันไปสำหรับผู้ใหญ่ในบ้านเรา
กลับมา สถานการณ์ปัจจุบัน ที่เชื่อกันว่าข่าวและข้อมูลนี้เป็นของจริง การเข้ามาในตลาดของ เทสลา ก็ดูไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรมาก เพราะอย่างแรก ประเทศไทย ถ้าเรามองในภาพของแผนที่โลกในเรื่องของอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ของนั้นเราไม่เคยหลุด 1 ในแหล่งผลิตรายใหญ่ 20 อันดับ และในเอเซียวันนี้เราก็เป็นรองแค่ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แถมเป็นผู้ส่งออกรถยนต์กระบะไม่ 1 ก็ 2 ของโลก คำถามคือทำไม เทสลา ถึงจะไม่อยากเข้ามาขายในตลาดที่ยอดขายรถยนต์ต่อปีติดอันดับมาตลอด
เรามาตั้งคำถามกันดีกว่าว่า เมื่อ เทสลา เข้ามาทำตลาดอย่างเป็นทางการหรือเอาง่ายๆ คือเปิดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ Tesla ในประเทศไทยแล้วนี่ เราจะได้เห็นอะไรบ้าง
1. เลิกมโนเสียทีรถยนต์ไฟฟ้าราคาแสนถูก จากแบรนด์นี้ เพราะเขายังไม่ได้ออกขาย
มีคนไทยจำนวนมากฝันหวาน เพราะได้ฟังสิ่งที่ เฮียอีลอน มัสก์ พูดไว้ครั้งหนึ่งใน Battery Day สักปีหนึ่งว่า สักวันเราจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกให้กับคนทั้งโลก ในอนาคตซึ่งในอนาคตของนาคตอีกนานเลยแหละกว่าสิ่งที่เฮียแกนิมิตได้หลังจากดึงดาวด้วยสมุนไพรจะสำเร็จ เพราะแค่วันนี้แบตเตอร์รี่แบบ 4680 ที่จะเริ่มใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla Model Y ซึ่งหลายสำนักบอกว่าเมื่อไหร่ที่แบตเตอร์รี่แบบนี้ผลิตพร้อมติดตั้งในรถของ เทสลา เมื่อไหร่ จะเริ่มเป็นช่วงที่บริษัทสามารถทำกำไรและประหยัดต้นทุนไปได้จำนวนมาก หลังจากนั้นค่อยถึงเวลาที่จะทำรถรุ่นราคาถูกจริงๆ ออกมา
ข่าวคือ ณ วันนี้ รถ Tesla Model Y ที่เริ่มส่งมอบในอเมริกานั้น ยังคงออกมาจากโรงงาน Fremont California ไม่ใช่ Giga Texas และข้อมูลระบุต่อไปอีกว่ารถที่ส่งมอบยังคงใช้แบตเตอร์รี่แบบ 2170 เหมือนเดิม
แต่เหมือนเรื่องราคารถที่จะมีขายหลังจากที่มีการตั้งสำนักในประเทศไทยก็คือ เราอาจจะได้เห็นราคาของรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ Tesla ทั้ง 4 รุ่นในราคาที่สมเหตุสมผลกันมากขึ้น
วันนี้หากใครคิดอยากเป็นเจ้าของ รถยนต์ไฟฟ้า Tesla Model 3 รุ่นเริ่มต้น Standard Range อาจจะต้องจ่ายในราคาตั้งแต่ประมาณ 2.5-2.7 ล้านบาท เนื่องจากเป็นรถที่สั่งมาจากแหล่งที่มา 2 ที่คือ ฮ่องกงหรืออังกฤษ และที่สำคัญคือทั้งสองแหล่งนั้นถูกประกอบและใช้สิ้นส่วนเกือบทั้งหมดจากโรงงานเก่า โดยที่โรงงานใกล้ที่สุดอย่าง Giga Shanghai ยังไม่สามารถผลิตรุ่นพวงมาลัยขวาออกมาส่งเข้าตลาดฮ่องกงได้ เนื่องจากกำลังการผลิตที่ยังไม่เพียงพอต่อการป้อนภายในประเทศจีน
หากสำหนักงานขายในประเทศไทย เริ่มทำการตลาดเมื่อไหร่ มีการประเมินกันว่า คนไทยน่าจะได้เห็น Tesla Model 3 ในราคาเริ่มต้นไม่ถึง 2 ล้านบาท จนไปถึง 2 ล้านกลางๆ หรือปลายในรุ่น Performance โดยที่ไม่รู้แหละว่าจะมาจากโรงงานไหน
2. Full Self Driving รถยนต์ขับด้วยตัวเองจะได้เห็นแล้วในเมืองไทย
อย่าเพิ่งคิดเรื่องนี้กันเลย เพราะถึงวันนี้ซอฟต์แวร์ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกประมาณสองแสนกว่าบาทไม่ได้ Preload มาเหมือน Windows Home Edition มาฟรีๆ เพื่อแก้ปัญหาซอฟต์แวร์เถื่อนอย่างในบ้านเรานั้น ณ วันนี้ยังเป็นซอฟต์แวร์เวอร์ชันทดลองหรือ Beta Version อยู่เลย ปัจจุบันน่าเป็น FSD Beta V.10
สำหรับในประเทศไทยนั้น สิ่งที่หลายคนที่มีรถ เทสลา ขับกันอยู่ก็คือ ถ้ามีการเปิดสำนักงานขายอย่างเป็นทางการจริงๆ ปัญหาเรื่องของซอฟต์แวร์ระบบทั้งหมด โดยเฉาะเรื่องภาษาไทย เช่นพวกเมนูต่างๆ ก็อาจจะมีเพิ่มเข้ามา และที่สำคัญคือระบบนำทางและค้นหาสถานที่เพราะ ณ ปัจจุบันแผนที่ที่แสดงอยู่ในรถ เทสลา นั้นเป็น Google map สามารถค้นหาสถานที่ส่วนใหญ่ได้ แต่ไม่สามารถนำทางไปได้ ซึ่งปัญหานี้คงได้รับการแก้ไข
เรื่องหนึ่งคือ รถยนต์ไฟฟ้า อย่าง เทสลา ในทุกโมเดล ไม่มี Apple Carplay การแก้ไขโดยส่วนใหญ่ของเจ้าของรถนั้นคือ หลายคนเลือกที่จะติดตั้งจอระบบ Android เสริมเพื่อความสามารถในการเชื่าอมต่อเข้ากับมือถือของตัวเอง ทั้ง iOS และ Android
3. สถานีชาร์จไฟ ความเร็วสูงที่สุดในปฐพี
มีรานงานพบว่ามีการติดอที่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่า เทสลา ได้เข้าเจรจาหาความเป็นไปได้ ในการสอบถามข้อมูลในเรื่องของเครือข่ายระบบจ่ายไฟฟ้ากับทาง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟน.) เพื่อเตรียมจัดสร้าง เครือข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้าให้กับรถที่จะขายในประเทศไทย
โดยมีการตั้งความหวังไว้ว่า เทสลา ถ้าได้เริ่มสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จนั้น อาจจะนำเอา Supercharge V.3 ที่สามารถปล่อยกระแสได้ถึง 250 kW มาเลยก็ได้ และถ้าเป็นอย่างนั้นจริงจะถือว่าเป็นแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าเจ้าแรกที่สรา้งเครือข่ายชาร์จความเร็วสูงที่สุดในประเทศไทย เพราะปัจจุบันจะสามารถพบสถานีชาร์จในระดับนี้ได้เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น (ปัจจุบันพบใน กทม. ได้ที่จุดชาร์จไฟฟ้าของ AAS วิภาวดีเท่านั้น)
เอาแค่ 3 เรื่องนี้ก่อน หากว่ามีความคืบหน้ามากกว่านี้ ค่อยมาเล่าให้ฟังกันใหม่เพราะจดทะเบียนบริษัทจบแล้วยังมีเรื่องอีกเยอะที่หาก Tesla จะเข้าตลาดไทยจริงๆ ยังมีอีกมากมายที่ต้องทำ นี่ยังไม่รวมถึงการรับมือที่ พี่ใหญ่ ของอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทย เขาเตรียมรับน้องเอาไว้อีก รอดู