EV Car Fevers ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเมืองไทยกำลังไต่ถัง รออีกนิดผู้เล่นกำลังมา

EV Car Fevers จะพูดแบบนั้นก็คงไม่ผิด เพราะสรุปสิ้นปีที่ผ่านมายอดการจดทะเลียนเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่ม 500% หมดยุคคำถามคุมกำเนิดเสียที
Share

ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าขยายตัวเกิน 500% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว แค่สองเดือนของปี 2023 พบยอดจดใหม่ใกล้หมื่นคัน ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ผลบุญ Tesla ส่งมอบล๊อตแรกและ BYD Atto3 จับตาผู้เล่นหน้าใหม่เข้าตั้งโรงงานเมืองไทย

 

Darren Woods ซีอีโอบริษัทน้ำมัน ExxonMobil เคยให้สัมภาษณ์กับทาง David Faber ผู้ดำเนินรายการของสถานี CNBC เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2565 ไว้ว่า “ภายในปี 2040 รถยนต์ทุกคันที่ขายบนโลกนี้จะกลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้า” หลายคนในวงการยานยนต์อาจจะไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ แต่สำหรับบางตลาดมันก็อาจจะเป็นไปได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศยุโรปโดยเฉพาะ สแกนดีเนเวีย ที่วันนี้ยอดขายส่วนใหญ่ของรถยนต์ไฟฟ้าเทียบรถยนต์น้ำมัน ฝ่ายหลังกำลังทดถอยอย่างรุนแรง

กลับมาดูในประเทศไทย ต้องบอกว่าไม่มีอะไรมาเทียบได้อีกต่อไปในเชิงของผลกระทบเชิงนโยบายของภาครับที่มีต่อประชาชน เพราะว่าก็ต้องยอมรับตรงๆ ว่านโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าโดยรัฐบาลลุงตู่ ทำเอายอดจดทะเบียนของรถไฟฟ้าโตแบบกระฉุด

ถึงแม้ว่าตัวเลขนี้จะพุ่งแรงเอาตอนช่วงไตรมาสหลังก็ตาม แต่ถ้าไปเทียบกับนโยบายรถคันแรกในช่วงปี 2561 นั้นถือว่าสร้างภาระต่ออุตสาหกรรมรถยนต์จนซ๊อตกันไป 3 ปีเต็มๆ เลยทีเดียว ด้วยการสร้างดีมานด์เทียมมียอดขายครั้งเดียวแล้วทำให้การซื้อขายที่ควรเป็นปกติหยุดชะงักไป

ปัจจัยส่งเสริม ทำให้เกิด EV Car Fevers 500%++

นโยบายภาครัฐตัวกระตุ้นสำคัญของตลาดรถยนต์ BEV ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐที่ให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีที่นำเข้าจากต่างประเทศมาขายระหว่างปี 2565-2566 โดยค่ายรถที่เข้าร่วมโครงการต้องผลิตชดเชยให้เท่ากับจำนวนรถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศและนำเข้ามาทั้งคัน (CBU) ในปี 2565-2568

นโยบายนี้กลายเป็นตัวกระตุ้นให้ค่ายรถโดยเฉพาะจากประเทศจีน ได้เข้ามาร่วมโครงการและลงทุนในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย และทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าคึกคักขึ้นเป็นอย่างมาก ข้อมูลจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติให้การส่งเสริมในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท รวมทั้งสิ้น 26 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) รวม 80,208 ล้านบาท (เฉพาะรถยนต์ BEV 27,745 ล้านบาท) จำนวนกำลังการผลิตยานยนต์ที่ได้รับอนุมัติเป็นจำนวน 838,775 คัน (เฉพาะรถยนต์ BEV 256,220 คัน)

นอกจากนี้ กรมสรรพสามิต ได้ลงนามข้อตกลงตามมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าระหว่างกรมสรรพสามิตกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้นำเข้ายานยนต์ไฟฟ้า แล้วรวม 10 ราย และล่าสุด ครม. ยังได้อนุมัติลดค่าภาษีรถยนต์ BEV ลง 80% สำหรับรถที่จดทะเบียนระหว่างวันที่ 9 พ.ย.2565 – 8 พ.ย.2568 เป็นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่จดทะเบียน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ใช้รถยนต์ BEV ลงไปได้อีก

EV Ecosystem เต็มบ้านเต็มเมือง

คำถามสำคัญของคนที่ไม่ชายตามองรถยนต์ EV คือ Ecosystems หรือเอาง่ายๆ คือหาจุดเติมไฟที่ไหนให้สะดวก อย่างน้อยก็ไม่สะดวกเหมือนเติมน้ำมันแน่นอน เพราะหาที่ไหนก็ได้

Ecosystem ของรถยนต์ BEV พัฒนาอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการเพิ่มสัดส่วนของรถยนต์ BEV ในตลาด ทั้งทางด้าน 1) ระยะทางที่วิ่งได้ไกลขึ้นเมื่อเทียบกับอดีต 2) แนวโน้มสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ รวมทั้ง 3) เทคโนโลยีหัวจ่ายไฟฟ้าที่ใช้ระยะเวลาการชาร์จต่อครั้งสั้นลง ปัจจัยเหล่านี้เป็นแรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านจาก “รถยนต์สันดาปภายใน” สู่ “รถยนต์ BEV” บนท้องถนนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ระยะทางการขับขี่ที่ไกลขึ้นเป็นปัจจัยที่ช่วยให้คนตัดสินใจปรับเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ BEV กันมากขึ้น โดยข้อมูลจาก International Energy Agency (IEA) ระบุว่ารถยนต์ BEV มีระยะทางขับขี่โดยเฉลี่ยต่อการชาร์จ 1 ครั้งเพิ่มขึ้นจาก 243 กิโลเมตร ขึ้นมาอยู่ที่ 349 กิโลเมตร หรือเพิ่มขึ้นกว่า 44% แนวโน้มด้านระยะทางของรถยนต์ BEV ที่สามารถวิ่งได้ไกลขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เป็นปัจจัยทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อรถประเภทนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากในอดีตรถยนต์ BEV รุ่นเก่ายังไม่สามารถเก็บไฟฟ้าได้มากนัก ส่งผลให้ระยะทางการวิ่งของรถยนต์ BEV เมื่อชาร์จเต็มที่ในช่วงก่อนหน้ายังไม่มากเท่ากับรถยนต์สันดาปภายใน เป็นหนึ่งในข้อจำกัดของการตัดสินใจเลือกใช้

เนื่องจากผู้บริโภคบางส่วนกังวลเรื่องการเดินทางระยะไกล แต่ปัจจุบันแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ BEV ถูกพัฒนาให้สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้นและใช้งานได้ทนทานขึ้น ช่วยลดข้อจำกัดการเดินทางระยะไกล และตอบโจทย์ผู้ใช้รถยนต์ BEV มากขึ้น

 

เรื่องนี้ยังไม่จบ สัปดาห์หน้า เรามาอ่านอีกส่วนที่เหลือให้จบ ว่าอะไรทำให้ในประเทศไทยถึงได้กระตุ้นการเป็นเจ้าของยานยนต์ไฟฟ้า จนเข้าขั้น EV Car Fevers กันทั้งประเทศ หากว่าหลังที่อ่านที่มาที่ไปครบแล้วคุณเป็นอีกคนที่อยากเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า นั่นมันก็แปลว่าเรื่องนี้ไม่ใช่แค่กระแสลมที่พัดมาแล้วผ่านหูไปเฉยๆ

 

Remark:

ยอดส่งมอบและจดทะเบียน ตั้งแต่เดือน มกราคม – มีนาคม 2566 มีข้อสังเกตว่าเกิดจากการส่งมอบรถของสองแบรนด์เป็นหลัก ได้แก่ BYD ที่ได้ทำการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้า Atto3 ในล๊อตที่สอง หลังจากการเปิดตัวพร้อมปล่อยรถล๊อตแรกทั้งหมด 5,000 คันโดยประมาณหมดประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากการเปิดตัวและเปิดจองและรับรถอย่างเป็นทางการ

และที่จะไม่พูดถึงเลยคงไม่ได้คือ การเปิดส่งมอบรถล๊อตแรกของแบรนด์ระดับโลกของ Tesla โดยที่มีโควต้าล๊อตแรกสำหรับประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 7,000 คัน โดยคิวแรกๆ ที่มีการนัดส่งมอบรถเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์

และการที่สามารถนับยอดการส่งมอบของ Tesla ได้ทันการสำรวจการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ก็เพราะ ทางบริษัทเลือกแนวทางใหม่สำหรับบ้านเราเลยก็คือทำการจดทะเบียนให้ก่อนส่งมอบ ถือว่าผิดแลปกจากธรรมเนียมปฏิบัติของการซื้อรถใหม่ในประเทศไทย

 

และสำหรับท่านผู้อ่านที่ชื่นชอบและติดตามข่าวสาร ยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานทางเลือก สามารถอ่านเรื่องราวอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี่

Contentder

Contentder

มือเขียนคอนเทนต์ประจำ กอง บก. มีความรู้พอประมาณทั้ง ไอที ยานยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจ และพยายามศึกษางานด้าน พลังงานและความยั่งยืน เพราะยึดในคำที่ Steve Jobs เคยกล่าวกับเหล่าบัณฑิต มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ในปี 2005 ที่ว่า "Stay Hungry, Stay Foolish" แปลเป็นไทยง่ายๆ "อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว" นั่นเอง

Related Articles