เจาะเทรนด์อนาคตระบบชาร์จไฟ รถยนต์ EV : ตอนที่ 1

EV Charging Station ปัจจัยสำคัญของคนเลือก รถยนต์ไฟฟ้า แต่ในอนาคต สิ่งเหล่านี้ล้วนกำลังเปลี่ยนไป
Share

 

EV Charging Station ปัจจัยสำคัญของคนเลือก รถยนต์ไฟฟ้า แต่ในอนาคต สิ่งเหล่านี้ล้วนกำลังเปลี่ยนไป

 

ต้องยอมรับว่าวันนี้ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อการสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ของระบบคมนาคม คำถามไม่ใช่เรื่องที่ว่าจะมีจำนวนสถานีมากพอหรือไม่ แต่เป็นเรื่องของทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีสถานีชาร์จ ว่าจะไปในแนวทางไหนเพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งความเร็วและการอำนวยความสะดวกได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความกังวลเรื่องเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวกับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านับว่ายังมีไม่มากนัก คนส่วนใหญ่มักจะถามอยู่แค่เรื่องของกำลังไฟ หรือจะชาร์จรถไฟฟ้าของตัวเองได้เร็วขนาดไหน หรืออาจจะแค่กังวลว่ากำลังไฟของแบตเตอรี่รถตัวเองจะเพียงพอสำหรับการเดินทางหรือไม่

แต่วันนี้ เรากำลังพูดถึงภาพที่ใหญ่กว่านั้นมากนัก นั่นคือการเปลี่ยนผ่านจากโครงสร้างระบบคมนาคมขนส่งไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยียุคต่อไปของโลก EV นั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ถึงเวลาที่เราต้องไปเจาะลึกกันต่อ Let’s go

ว่าด้วยเรื่องของ EV Charging Station แห่งอนาคต

Tesla คือผู้ผลิตรายแรกที่ได้นำรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ออกขาย จนถึงวันนี้มีรถยนต์ไฟฟ้าวิ่งอยู่บนถนนในสหรัฐแล้วกว่าล้านคัน โดยมีสถิติว่าภายในปี 2030 จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่จะขายออกสู่ถนนในสหรัฐจะเพิ่มเป็น 15 ล้านคัน (ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะยอดขายรถยนต์รวมในสหรัฐอเมริกาในช่วงเศรษฐกิจซบเซายังขายได้เกิน 1 ล้านคันต่อเดือน)

เมื่อพูดถึงจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า สิ่งที่ตามอย่างเลี่ยงไม่ได้ ก็คือตัวเลขของสถานีขาร์จไฟฟ้า จากตัวเลขล่าสุดเฉพาะ Tesla เพียงรายเดียวมีสถานีชาร์จรถไฟฟ้าอยู่ทั่วอเมริกาเหนือ (ซึ่งน่าจะรวมสหรัฐอเมริกาและแคนาดา) 1,621 สถานี (ซึ่งเอาเข้าจริงทุกสถานีและทุกหัวจ่ายของ Tesla นั้นเป็นแบบ Fast Charge ทั้งหมด โดย Version 3 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดสามารถจ่ายไฟที่ 250 kWh. โดยทุกโมเดลของแบรนด์ที่ออกมาในปีใหม่สามารถรับกำลังชาร์จระดับนี้ได้ทันที)

Tesla Charging Station

หากมองถึงตัวเลขรวมของสถานีชาร์จในอเมริกา สถิติพบว่าในปี 2018 ในสหรัฐอเมริกานั้นมีอยู่ประมาณ 20,000 สถานี

เดินหน้าปักหมุดสถานีชาร์จไฟฟ้าให้กับรถที่ตัวเองขายไปกว่าล้านหัวชาร์จและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปตามถนนหลวงโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา โดยที่ทางบริษัทตั้งเป้าไว้ที่ 15 ล้านหัวชาร์จภายในปี 2030 ในขณะที่ในเมืองไทย ทั้งรัฐบาลและ สนพ. (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, กระทรวงพลังงาน) ตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2573 หรือ คศ. 2030 ประเทศไทยจะมีสถานีชาร์จ 1,300 สถานี มีจำนวนหัวชาร์จแบบ Fast Charge 13,251 หัว แต่ในวันนี้ทุกแบรนด์ต่างคาดหวังจำนวนที่สูงกว่าเป้าของกระทรวงพลังงาน

อย่างไรก็ตามก็มีการคาดการณ์ไว้ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าวงการนี้จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั่วโลกจะมีมูลค่าเฉพาะธุรกิจการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าถึง 30,410 ล้านดอลลาร์ภายในปีหน้า ซึ่งเป็นการยืนยันอย่างกลายๆ ว่า ในอนาคตโลกของการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นจะน้อยลงเรื่อยๆ ในทางกลับกันโลกของยานยนต์ไฟฟ้าก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ (ซึ่งขัดแย้งกับความเห็นของ อากิโอะ โตโยดะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Toyota Corporation ที่ยังคงยืนหยัดอยู่อีกฟากของโลกยานยนต์ไฟฟ้า แม้จะประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ยานยนต์ EV ออกมาแต่ตามรายงานอ้างว่าเป็นการนำเอาแพลตฟอร์มของยักษ์ใหญ่จากจีนอย่าง BYD มาใช้)

Battery ที่เก็บกักพลังงานได้มากขึ้น

ใน Innomatter.com เราได้เคยนำเสนอกันไปบ้างแล้วในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะถูกนำมาใช้ในอนาคต เพื่อทำให้แบตสำหรับรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีพลังไฟฟ้ามากขึ้น ที่ทำให้ทั้งรองรับมอเตอร์ที่ทรงพลังมากขึ้นรวมถึงทำให้ระยะทางต่อการชาร์จ 1 ครั้งนั้นทำได้ยาวไกลยิ่งขึ้น

Sodium Ion เทคโนโลยีแบตเตอรี่ใหม่ ที่เตรียมเข้าแทน Lithium ในอีกไม่นาน

ในมุมมองของคนใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การชาร์จไฟบ้านอาจเป็นเรื่องตรงไปตรงมา ใช้แค่ไหนจ่ายแค่นั้นตามบิลค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บปลายเดือนอยู่แล้ว แต่สำหรับหลายบริษัทที่กำลังมองหาการเปลี่ยนพาหนะในการใช้งานหรือขนส่งสินค้า การมีพนักงานจำนวนมากที่ต้องนำรถที่ใช้งานมาชาร์จเพื่องานทางธุรกิจถือเป็นเรื่องในการสร้างปัญหาใหญ่อย่างมาก

เมื่อมองไปในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการชาร์จที่คิดเป็นหน่วย kWh โดยในต่างประเทศจะเรียกเก็บในอัตราเฉลี่ย 15 ดอลลาร์ต่อหน่วย สำหรับในประเทศไทยปัจจุบันส่วนใหญ่นั้นเรียกเก็บในอัตราโดยเฉลี่ยที่ 7.50 บาท มีบางรายนั้นเรียกเก็บในอัตรา 8-9 บาท แต่บางรายนั้นมีช่วงเวลาพิเศษ Off Peak เรียกเก็บในอัตราเพียง 4.50 บาท (ช่วงเวลา On และ Off Peak คิดตามช่วงเวลาแบบเดียวกับ MEA และ PEA ในกรณีของการขอมิเตอร์แบบ TOU) แต่หากมองในมุมของธุรกิจที่เปลี่ยนมาก็ยังถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายก้อนโต แม้ว่าจะมีอัตราการค่าใช้จ่ายต่อกิโลเมตรที่ถูกกว่าแต่ด้วยราคาของรถยนต์ไฟฟ้าก็เรียกว่า ลงทุน เริ่มต้นหนักเอาการ

และที่แตกต่างจากการชาร์จไฟที่บ้านหรือที่สำนักงานที่เป็นไฟฟ้าปกติ คือการชาร์จด้วยสถานีชาร์จแบบสาธารณะนั้นส่วนใหญ่จะเป็นแบบ DC Fast Charge โดยที่ปัจจุบันนั้นในต่างประเทศจะลงทุนด้วยเครื่องชาร์จในระดับตั้งแต่ 60 kWh. ขึ้นไป และในสถานีใหม่ๆ ก็จะเริ่มติดตั้งในรุ่นที่สามารถป้อนกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 120 kWh. ขึ้นไป และสำหรับประเทศไทยนั้นก็เป็นในทำนองเดียวกัน ปัจจุบันสถานีชาร์จที่แรงที่สุดในประเทศไทยคือ Shell Recharge by SHARGE ขนาด 180 kWh. และล่าสุดสำหรับในต่างประเทศเริ่มมีเครื่องรุ่น 300 kWh. ให้เห็นบ้างแล้ว

เมื่อเราเห็นว่ามีการพัฒนาของสถานีชาร์จที่เร็วและแรงยิ่งขึ้น ในมุมของแบตเตอรี่นั้นก็มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้มาได้เห็น แม้ว่าวันนี้โลกรอการมาอย่างจริงจังของ Solid State Battery ที่ทางผู้ผลิตจีนนั้นประกาศแล้วว่าจะเริ่มนำออกมาใช้ ทั้งที่ปัจจุบันบริษัทที่ถือสิทธิบัตรในตัว Solid State Battery นี้กลับกลายเป็น Toyota ผู้ซึ่งต้านการเปลี่ยนสู่รถไฟฟ้ามากที่สุด

แถมเคยประกาศแล้วว่ารถยนต์ไฟฟ้าของตนนั้นจะมาพร้อมแบตเตอรี่ชนิดนี้ ที่สามารถชาร์จแบตในอัตรา 20-80% ในเวลา 15 นาที และขับเคลื่อนได้ระยะทางอย่างน้อยเกินกว่า 500 กิโลเมตร แต่วันนี้ผลิตภัณฑ์รถไฟฟ้าคันแรกกลับมาด้วยแพลตฟอร์มของ BYD แม้กระทั่ง Blade Battery แต่วันนี้ยังไม่สามารถส่งมอบรถในวงกว้างได้ เนื่องจากเจอปัญหาดุมล้อที่อาจเกิดปัญหาจนสามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุล้อหลุดได้

วันนี้ LFP (Lithium-Ion Phosphate) ถือเป็นแบตที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้าที่สุด ทั้งในแง่ของความจุและการนำไปใช้ได้แบบยืดหยุ่น และมีผู้ผลิตอย่าง BYD นั้นนำเอาไปพัฒนาจนกลายเป็นแบตแบบ Blade Battery ที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงแม้ขนาด Elon Musk นั้นต้องไปเจรจาขอใช้เทคโนโลยีนี้ในรถไฟฟ้าทั้ง Model 3 และ Y ที่กำลังออกมาจาก Giga Factory Shanghai ที่ประเทศไทยก็อาจจะได้รถสเปคนี้เข้ามาวางขายในโชว์รูนที่กำลังจะเกิดขึ้นที่ M Sphere, M Distric

ขอตัดตอนแค่นี้ก่อน เพราะกลัวท่านผู้อ่านจะใช้เวลามากเกินไป คุณสามารถติดตามอ่านตอนที่ 2 ในเร็ววันนี้

 

สำหรับท่านที่ชอบและติดตามวงการ รถยนต์ไฟฟ้า คุณสามารถติดตามข่าวสารและบทความที่เกี่ยวข้อง ได้ทาง ช่องทางนี้

Related Articles